วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย

แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย   เรื่อง “ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ”

ชื่อ- นามสกุล ผู้ให้สัมภาษณ์…………………………………………………………………………

ตำแหน่ง……………………………………………สังกัด………………………………………….

วันที่ให้สัมภาษณ์……………………………….สถานที่ให้สัมภาษณ์………………………………


       แบบสัมภาษณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการจัดการศึกษานานาชาติ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (semi-structure interview) เป็นการเตรียมประเด็นการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าแค่ใช้ถามชี้นำ เพื่อจะได้ไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์แบบปฏิสัมพันธ์ (interactive interview) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ในทุกประเด็นคำถาม

     การจัดเก็บข้อมูลนี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำนายความเป็นไปได้ และแผนยุทธศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาระบบกำลังคนของประเทศไทยสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ ผู้ให้ข้อมูลอาจเป็นผู้บริหารระดับสูง และการรวบรวมข้อมูลจากด้านอื่นๆ เพื่อทำให้ได้ภาพรวมของสถาบันการศึกษา และภาพรวมการอุดมศึกษาไทยด้านการพัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ

1. แบบเก็บข้อมูลสถาบัน ประกอบด้วย  ชื่อมหาวิทยาลัยภาษาไทย   ชื่อมหาวิทยาลัยภาษาอังกฤษ

สถานที่ตั้ง  ที่อยู่ติดต่อได้ทางไปรษณีย์  E-mail:   หมายเลขโทรศัพท์  Website


2. ระบบการศึกษา

หลักสูตรนานาชาติที่เปิดดำเนินการในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏของท่านได้แก่

ระดับการศึกษา สาขาวิชาที่เปิดสอน จำนวนผู้เรียน นักศึกษาต่างชาติ   ระดับอนุปริญญา

ระดับปริญญาตรี   ระดับปริญญาโท   และระดับปริญญาเอก


นักศึกษาต่างชาติ คิดเป็นร้อยละเท่าใดของจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น…………………………

 มาจากชาติใดบ้าง…………………………………………………………….……………..

 เรียนโดยใช้สื่อเป็นภาษาอะไร และอย่างไร……………………………………………….


ข้อสังเกตเพิ่มเติม

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. ….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..


3. อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ/ต่างประเทศ ที่ประจำหลักสูตรนานาชาติที่ท่านเปิดสอน

ระดับการศึกษา อาจารย์ไทย/คน อาจารย์ต่างชาติ/คน จากประเทศใดบ้าง

ระดับปริญญาตรี  ระดับปริญญาโท  ระดับปริญญาเอก  จำนวนกี่คน

อาจารย์จากต่างประเทศ จากประเทศบ้าง……………………………………………………………………………

เพื่อมาทำหน้าที่อะไร………………………………………………………………………..……….

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ………..….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. 

ข้อสังเกตเพิ่มเติม

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. …..

4. ความร่วมมือกับต่างประเทศ

ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยของท่านได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศอย่างไร (MOU) ใน

ด้านการจัดการศึกษานานาชาติ

 ชื่อสถานศึกษา ไทย/อังกฤษ………………………………………………………………

 ประเทศ…………………………………………………………………………………..

 รัฐบาล/เอกชน…………………………………………………………………………….

 ประเภทสถาบัน…………………………………………………………………………….

 ขนาดสถาบัน – จำนวนผู้เรียน………………………………………………………………


ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาต่อสถานศึกษา (มหาวิทยาลัยของท่านมีหรือไม่ในหัวข้อต่อไปนี้)

 การพัฒนาคณาจารย์ (Staff Development)…………………………………………………

 การแลกเปลี่ยนอาจารย์ (Faculty Exchange)………………………………………………

 การแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Exchange)…………………………………………….

 การให้ทุนการศึกษา………………………………………………………………………..

 การให้ทุนผู้ช่วยสอน (Teaching Assistants)………………………………………………

 การให้ทุนผู้ช่วยวิจัย (Research Assistants)………………………………………………..

5. แผนงานการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ

มีแผนที่จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนนานาชาติหรือไม่………………………………………



        ข้อมูลนี้ยังไม่ถือเป็นข้อมูลอย่างเป็นทางการได้ หากยังอยู่ในระดับแนวคิด แนวทางการเปิดหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยของท่าน ได้แก่

หลักสูตรที่ 1

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ……………... …..……….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..

หลักสูตรที่ 2

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… …..….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…………….…….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..
หลักสูตรที่ 3

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ……... ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ……………..………… ….. ….. ….. …… ….. ….. ……………..…................…



หลักสูตรที่ 4

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… …..….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ……………..……….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..

หลักสูตรที่ 5

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …..…… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ……………..……….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..

6. แนวทาง/ยุทธศาสตร์ของแผนงานการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ

เชิงวิชาการ

1. กลุ่มเป้าหมายของการจัดการศึกษานานาชาติ ได้แก่ .....................................................................

2. ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่................................................................................

3. คุณภาพวิชาการ – ต้องการให้บรรลุอย่างไร แตกต่างจากหลักสูตรที่มีอยู่อย่างไร และจะมีแนวทางอย่างไรที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

4. ระบบการสรรหา และคัดเลือกผู้เรียนโดยวิธีการใดบ้าง........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

5. ในเขตชุมชนของท่าน ในจังหวัดมีโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียน EP, Bilingual ที่เรียนและสอน

ในภาษาต่างประเทศหรือไม่……………………………………………………………………

6. มีศักยภาพในการหานักศึกษาต่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้านและอื่นๆ รวมทั้งความร่วมมือ

ในลักษณะแลกเปลี่ยนนักศึกษาหรือไม่ และอย่างไร เช่น กับ กัมพูชา มาเลเซียอินโดนีเซีย

ฟิลิปปินส์ – จีน อินเดีย ฯลฯ.....................................................................................................

7. มีการจัดระบบเวลาเรียนของหลักสูตรนานาชาติอย่างไร เช่น Semester, Trimester, Quarter,

Modular……………………………………………………………………..……………..

8. มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Twinning Program ความร่วมมือกับต่างประเทศ เรียนในประเทศบางส่วน กับเรียนต่างประเทศบางส่วนหรือไม่..........................................................

7. อนาคตของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ

- ท่านคาดว่าตลาดแรงงานหลังจบการศึกษาของนักศึกษาที่ศึกษาจบจากหลักสูตรนานาชาติ ได้แก่ ...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................

8. ในด้านค่าใช้จ่ายในการเรียนหลักสูตรนานาชาติ (หากมีการจัดการศึกษานานาชาติ)

ค่าเล่าเรียนที่มีการจัดเก็บในปัจจุบัน

 ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรต่ำสุด…………………………………………บาทต่อหน่วยกิต

 ค่าเล่าเรียนในหลักสูตรสูงสุด………………………………………....บาทต่อหน่วยกิต


กรอบแนวคิดด้านค่าใช้จ่ายของผู้เรียนและผู้ปกครอง

หลักสูตร ค่าใช้จ่ายต่ำสุด/เทอม ค่าใช้จ่ายสูงสุด/เทอม


1. แนวคิดการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยด้านการเปิดหลักสูตรนานาชาติ

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ……... …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …………….……

2. แนวคิดการกำหนดค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัย

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..………………….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..

3. เงินทุนสนับสนุนอื่นๆ จากมหาวิทยาลัย รัฐบาล ท้องถิ่น พ่อแม่ผู้ปกครอง

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… …..….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..………………….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..

4. บทบาทของธนาคาร และแหล่งเงินทุนกู้ยืมที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ……... ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..……………..….. ……...… ….. ….. …..…… ….. ….. ….. …… ….. ….. …..

8. สถานที่พัก

ท่านมีแนวคิดอย่างไรที่จะทำให้ระบบที่พักที่อาศัยของนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาหลักสูตรนานาชาติ

ลักษณะสถานที่พักที่เตรียมการ (มหาวิทยาลัยราชภัฏของท่านเตรียมการไว้นักศึกษาหรือไม่)

 หอพัก/บ้านพักในมหาวิทยาลัย…………………………………………………………..

 หอพัก/บ้านพักภายนอก…………………………………………………………………..

 Host family มีครอบครัวร่วมกิจกรรม……………………………………………………..

 อื่นๆ โปรดระบุ……………………………………………………………........................



                                       *****************************************************



วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดรับสมัคร

         วิทยาลัยนานาชาติ จัดการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ โดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบไปด้วยภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละหลักสูตร และมีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะวิชาชีพ ความสามารถและประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของสังคม ซึ่งการเรียนการสอนของวิทยาลัย ไม่เน้นเด็กที่เก่งภาษา แต่มีความพยายามและชอบที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม โดยวิทยาลัยมีการจัดสอบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษทุกภาคเรียนและมีการจัดเรียนปรับพื้นฐานก่อนเปิดภาคเรียน รวมไปถึงจัดให้มีวิชาการเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษในห้องเรียนเพิ่มเติม สำหรับนักศึกษาที่มีคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ โดยผู้สอนมีทั้งชาวไทยที่มีดีกรีจบการศึกษาจากต่างประเทศ และชาวต่างประเทศ ที่มีศักยภาพ และมีพื้นฐานเฉพาะด้าน แต่ทั้งนี้ในปี ที่ 1จะเน้นการเรียนพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้นักศึกษามีพื้นฐานที่ดีแล้วจึงจะเรียนเข้าสู่ระบบการบริหารจัดการตามสาขาวิชา

Bachelor of Business Administration (B.B.A.)

◈International Business Program สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ

          ศึกษาเกี่ยวกับแนวความคิด หลักการ และทฤษฎีการบริหารธุรกิจ การเงิน การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และการตลาด โดยเน้นด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ระบบการเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตรา การวิเคราะห์เชิงระบบ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การศึกษาพฤติกรรมองค์กร ความสัมพันธ์ของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ การจัดทำโครงสร้างการบริหารงาน การบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อเป็นการตอบสนองการขยายตัวทางด้านธุรกิจ ซึ่งมีการฝึกปฏิบัติงานจริงจากองค์กรรัฐและเอกชน โดยบัณฑิตสามารถนำความรู้ที่เรียนมาประกอบอาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการติดต่อระหว่างประเทศ การส่งออก นำเข้าสินค้า การขนส่ง การเงิน การธนาคาร การบริหารงานโรงงาน งานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

◈Hospitality and Tourism Management Program สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว

         เน้นความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน เกี่ยวกับการจัดการโรงแรม (Hospitality) การท่องเที่ยว(Tourism) และการจัดการประชุมสัมนา (MICE) และศึกษาถึงโครงสร้างการบริหารจัดการ (Management) การศึกษาแนวโน้มการดำเนินงานด้านธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว โดยมีการศึกษาดูงานในธุรกิจสถานประกอบการด้านโรงแรม และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน การวางระบบงาน เรียนรู้ระบบปฏิบัติการในส่วนงานต่างๆ ภายในโรงแรม มีการศึกษาดูงานหน่วยงานชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ

Bachelor of Arts (B.A.)

◈ Airline Business สาขาวิชาธุรกิจการบิน

      เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับธุรกิจด้านการบิน งานบริการบนเครื่องบินและภาคพื้นดิน ภูมิศาสตร์การบิน กฏและระเบียบการจราจรทางอากาศ ชนิดของเครื่องบินและประสิทธิภาพการบิน โดยเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยลงมือปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการจำลอง มีการศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง พร้อมส่งเสริมความชำนาญในวิชาชีพด้วยการฝึกปฏิบัติงาน

◈ Restaurant and Lodging Business สาขาวิชาธุรกิจภัตตาคารและที่พัก

     เป็นสาขาที่เรียนรู้และต้องลงมือปฏิบัติจริงในด้านธุรกิจภัตตาคารและเครื่องดื่ม การศึกษาถึงครัวไทย ครัวนานาชาติ ฝึกการจัดเตรียมอาหารในแต่ละชาติ การเลือกวัตถุดิบ วิธีการปฏิบัติ หลักโภชนาการ การจัดตกแต่ง การจัดทำเมนู การควบคุมต้นทุน รวมถึงความรู้เกี่ยวกับที่พัก การจัดเตรียมสถานที่ รายละเอียดที่สำคัญสำหรับงานบริการด้านที่พัก รวมถึงระบบการทำงานภายในแผนกต่างๆ ฝึกทักษะในการเพิ่มพูนความรู้ใหม่เกี่ยวกับสาขาวิชาที่เรียน และศึกษาถึงโครงสร้างเกี่ยวกับการจัดทำธุรกิจเฉพาะด้านการศึกษาดูงานจากสถานประกอบการ และส่งเสริมความชำนาญในวิชาชีพด้วยการฝึกปฏิบัติงานจริง

◈ Tourism Industry สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

     เน้นความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน ทักษะเฉพาะทางและทัศนคติที่ดีต่อการบริการ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรมบริการ โดยเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะในวิชาชีพควบคู่กับทักษะด้านการจัดการและการใช้เทคโนโลยี การศึกษาการท่องเที่ยวทั่วไทย และทั่วโลก เน้นรูปแบบบริษัทนำเที่ยวจำลอง เปิดโอกาสให้ได้สัมผัสประสบการณ์นำเที่ยวด้วยตนเอง รวมถึงการจัดทัศนศึกษาเยี่ยมชมสถานที่ที่สำคัญ การจัดทำบัตรมัคคุเทศก์ เพื่อประกอบวิชาชีพในอนาคต ด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ


อัตราค่าธรรมเนียม ภาคการศึกษาปกติ 30,000 บาท ภาคฤดูร้อน 15,000 บาท

ยกเว้น หลักสูตรธุรกิจการบิน ค่าธรรมเนียมภาคการศึกษาปกติ 35,000 บาท ภาคฤดูร้อน 17,500 บาท



คุณสมบัติผู้สมัคร

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าจากโรงเรียนในประเทศและต่างประเทศ

2. สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนในต่างประเทศ ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในต่างประเทศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีหนังสือรับรองเทียบคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ

3. สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ต้องเป็นโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และมีหนังสือรับรองเทียบคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ

4. มีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

5. มีผลการเรียนภาษาอังกฤษเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.75

6. มีความประพฤติเรียบร้อย

7. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง



ทุนการศึกษา

1. ทุนเรียนดี เพื่อการศึกษา สำหรับนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 3.00

2. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตามคุณสมบัติที่กำหนด


ความร่วมมือทางวิชาการ

    วิทยาลัยนานาชาติเป็นหน่วยงานที่ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจในศักยภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาจึงมีหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ความร่วมมือโดยมีข้อตกลงทางวิชาการร่วมกันในการที่จะพัฒนาหลักสูตร งานวิชาการและการแลกเปลี่ยนนักศึกษา รวมถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมี Partner Institutions ดังนี้

องค์กรในต่างประเทศ

1. Harrow House International College ประเทศอังกฤษ

2. University of Western Sydney ประเทศออสเตรเลีย

3. Deakin University ประเทศออสเตรเลีย

4. University of Hradec Kralove สาธารณรัฐเช็ก

5. Metropolitan University Prague สาธารณรัฐเช็ก

6. Business and Hotel Management School ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

องค์กรในประเทศ

1. สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

2. สวนนงนุชพัทยา

3. โครงการโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีใกล้บ้าน) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านระบบสารสนเทศ (Interactive e-learning) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ