ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
(ภาษาอังกฤษ) Proposed Policy for International Education of Rajabhat University
ชื่อผู้วิจัย ประภาพร บุญปลอด
อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ คุปรัตน์
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้ใช้เป็นเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ สู่การจัดการศึกษานานาชาติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบายที่มี 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาบริบทเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 2) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และ 3) การตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยเป็นการพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยในขั้นตอนแรกจากการสัมภาษณ์ และขั้นตอนที่สามเป็นการตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้จากขั้นตอนที่สองโดยพิจารณาจากเกณฑ์ความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ ด้วยวิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและวิธีการประชาพิจารณาผู้มีส่วนได้เสีย
ผลจากการวิจัย ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องมี
การจัดการศึกษานานาชาติโดยบริหารจัดการหลักสูตรให้ได้เองเบ็ดเสร็จ ภายใต้หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เช่น วิทยาลัยนานาชาติ เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นด้านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ และได้พันธกิจ 5 ประการ คือ 1) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะในวิชาชีพสอดคล้องกับความต้องการของนานาชาติ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล 2) เสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถครองตนอย่างเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม 3) พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการในการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพสังคมเพื่อความก้าวหน้าของประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นอาเซียน 4) ให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 5)สืบสาน ทำนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
นอกจากนั้น จากผลการวิจัยได้ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของราชภัฏในด้าน ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ โดยมีรายละเอียดหลายประการที่มุ่งจะก่อให้เกิดผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดไว้
ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เป็นผลจากกระบวนการวิจัยเชิงนโยบายที่ยึดถือหลักการวิจัยแบบผสมที่อาศัยข้อมูลจากหลากหลายแหล่งตามหลักการสามเส้าในขั้นตอนแรก และอาศัยหลักการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการจากผู้มีส่วนได้เสียระดับนานาชาติ ในการพัฒนาและการตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบายในขั้นตอนที่สองและขั้นตอนที่สาม ทำให้มีความเชื่อมั่นว่า เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้
คำสำคัญ
นโยบาย, ข้อเสนอเชิงนโยบาย, การศึกษานานาชาติ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เมื่อการจัดการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฎได้มีการจัดทำขึ้นตามนโยบาย โดยทำให้เกิดทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในหลักสูตรที่มีความเป็นสากล เปิดโอกาสให้ได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษ เรียนรู้วิธีคิด การฝึกปฏิบัติจริงในหลักสูตรที่มีความเป็นนานาชาติ และการแสดงความคิดเห็นมากกว่าการศึกษาในรูปแบบเดิมๆ อาจได้มีโอกาสไปศึกษาและใช้ชีวิตในต่างประเทศด้วย เนื่องจากในบางมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีการร่วมมือทางด้านวิชาการ MOU (Memorandum Of Understanding) กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจะต้องได้มา ซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่การจัดการศึกษานานาชาติอันที่เป็นที่ยอมรับต่อการเป็นแนวหน้าของสถาบันอุดมศึกษาไทยในสังคมโลกต่อไป
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความคาดหวังด้านพันธกิจ แล้วนำมายกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
2. เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพันธกิจการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ขอบข่ายงานวิจัย
การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีขอบเขตการวิจัย ดังนี้
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีองค์ประกอบทางด้านพันธกิจ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติ
2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งจัดแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ เป็น 8 กลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 9 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูล
ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และผู้ปกครอง จาก 4 เขตภูมิศาสตร์ โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น
การทบทวนวรรณกรรม
ตอนที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับนโยบาย
1. ความหมายและความสำคัญของนโยบาย
2. องค์ประกอบและรูปแบบของนโยบาย
ตอนที่ 2 สถาบันอุดมศึกษา ระบบอุดมศึกษา
1. จุดมุ่งหมาย บทบาท ภารกิจ และหน้าที่
2. ประเภทของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
2.1 วิทยาลัยชุมชน (Community College)
2.2 มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University)
2.3 มหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University)
2.4 มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง (Specialty University)
2.5 มหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลายทางวิชาการ (Comprehensive University)
3. การจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ
4. ความเป็นสากลและความเป็นนานาชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
5. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
6. สถานภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทย
7. การส่งเสริมการศึกษานานาชาติในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย
8. แนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่
9. มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ
ตอนที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
1. วิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
2. ระบบบริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ตอนที่ 4 การวิจัยเชิงนโยบาย
วิธีดำเนินการของงานวิจัย
1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/เป้าหมายในการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏจำแนกตามเขตภูมิศาสตร์ ได้จำนวน 4 กลุ่ม จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (proportional stratified sampling) เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 9 แห่ง จากกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏจำแนกตามเขตภูมิศาสตร์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 50,734 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจากตาราง Krejcie R.V. and Morgan D.W. (1970) ที่ความเชื่อมั่น 95 % ได้กลุ่มตัวอย่าง 504 คน
1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การดำเนินการวิจัยเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัย ราชภัฏ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยวิธีการวิจัยเชิงนโยบาย (policy research) ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาบริบทเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 2) การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และ 3) การตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบาย
ระยะที่1 ศึกษาบริบทเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยประเภทต่าง ๆ เน้นลักษณะข้อมูลหลายแหล่ง (multiple data sources) ตามหลักการสามเส้า (triangulation approach) โดยระเบียบวิธีวิจัยแต่ละประเภทจะดำเนินการไปพร้อมกันเป็นคู่ขนาน (parallels) และข้อมูลที่ได้รับจากผลการวิจัยแต่ละประเภทจะได้นำไปใช้ในการพัฒนาเป็นร่างข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างเท่าเทียมกัน (equivalent status design) ตามแนวคิดวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม (mixed methodology) (Majchzak. 1984 อ้างถึงใน วิโรจน์ สารรัตนะ. 2548 : 14) ดังนี้
1. การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (documentary Study)
2. การสัมภาษณ์ (in-dept interview) อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
3. การสำรวจความคิดเห็นของประชากรและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎ
4. การศึกษาแบบพหุกรณี (multi-case study)
4.1 การจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยภายในประเทศจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
4.2 การจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
ระยะที่ 2 การพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ดำเนินงานวิจัย 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ และสนทนากลุ่มเป้าหมาย
1. การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ (experts interview) ทั้งจากภายในและภายนอก
2. การสัมมนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder group operational seminar)
ระยะที่ 3 การตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่ง
ขั้นตอนการวิจัยดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นในแผนภาพที่
1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสังเกต สำรวจ แบบสอบถาม สัมภาษณ์ จากนั้นนำบันทึกผลการสัมภาษณ์ต่างๆ การเก็บข้อมูลในการทำประชาพิจารณ์ที่บันทึกไว้มาตรวจสอบแก้ไขเพื่อสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ต่อไป
1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
เนื่องจากการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ บางส่วนซึ่งใช้เทคนิคสัมภาษณ์เชิงลึก (indept – interview) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) แล้วสรุปผลเป็นความเรียงต่อไป
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 3การศึกษาบริบทเพื่อจัดทำข้อเสนอ การพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย การตรวจสอบคุณภาพเชิงนโยบาย
ผลการวิจัย
ในการวิจัยเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของราชภัฏ ได้นำข้อมูล
ที่ได้รับจากการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม มาเป็นข้อมูล
ในการประชุมวางแผนร่างข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยสรุปทิศทางของการจัดการศึกษานานาชาติไว้ดังนี้
1. ปรัชญา (philosophy)
สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาไปสู่ความเป็นสากล มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้มี
คุณภาพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
2. ปณิธาน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่มีปณิธานมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่รู้รอบ มุ่งสู่
ความเป็นเลิศทางการศึกษานานาชาติ การวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดการยอมรับจากนานาชาติ
3. เป้าหมาย (goal)
เปิดสอนในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษหรือ
ภาษาอื่นตามหลักสูตรที่มีคุณภาพในระดับสากล
4. วิสัยทัศน์ (vision)
มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องมีการจัดการศึกษานานาชาติโดยการบริหารจัดการหลักสูตร
ให้ได้เองเบ็ดเสร็จ ภายใต้หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เช่น วิทยาลัยนานาชาติ เพื่อให้เกิดการยอมรับทั้ง ในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นด้านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ การเรียนการสอนโดยคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งส่งเสริมการวิจัย มีความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี
5. พันธกิจ (mission)
5.1 ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะในวิชาชีพสอดคล้องกับความ
ต้องการของนานาชาติ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
5.2 เสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถครองตนอย่างเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็น
ประโยชน์ต่อสังคม
5.3 พัฒนาองค์ความรู้และกระบวนการในการจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพสังคมเพื่อความก้าวหน้าของประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นอาเซียน
5.4 ให้บริการวิชาการแก่สังคมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
5.5 สืบสาน ทำนุบำรุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
6. วัตถุประสงค์
6.1 เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ (Uniqueness) ให้เกิดขึ้นในหลักสูตรนานาชาติ
6.2 เพื่อให้เกิดการยอมรับของประเทศในกลุ่มอาเซียนในการจัดการศึกษานานาชาติ
6.3 เพื่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติที่มีคุณภาพ
6.4 เพื่อเตรียมบัณฑิตที่มีศักยภาพทางด้านนานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ
6.5 เพื่อการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ซึ่งมีความเป็นอิสระและมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ
6.6 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะวิชาชีพ ความสามารถและประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของสังคม และนานาชาติ
7. นโยบายของมหาวิทยาลัย
ในการจัดการศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นการจัดการศึกษาตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการจัดการศึกษานานาชาติเพื่อรองรับแนวนโยบายดังกล่าวและกำหนดแนวทางการบริหารที่รู้เป้าหมายอย่างชัดเจน ได้แก่
7.1 นโยบายของสภามหาวิทยาลัยและบัณฑิตวิทยาลัยต้องชัดเจน สอดคล้องกัน
7.2 ต้องมีศักยภาพในการจัดการที่ได้มาตรฐานนานาชาติในทุกด้าน
7.3 ต้องมีหน่วยงานรองรับ เช่น วิทยาลัยนานาชาติ
7.4 หากต้องนำหลักสูตรนานาชาติเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะต่าง ๆ ควรต้องมีแผนการบริหารจัดการที่ชัดเจน แยกออกจากหลักสูตรภาคปกติ
7.5 ต้องมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการในทุกด้าน
8. องค์ประกอบสำคัญของการจัดการศึกษานานาชาติ`
8.1 นโยบาย นโยบายของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏและบัณฑิตต้องชัดเจนสอดคล้องกัน
8.2 หลักสูตร
8.2.1 หลักสูตรนานาชาติที่จะเปิดสอนควรมีการศึกษาและร่างหลักสูตรโดยผ่านสภามหาวิทยาลัย
8.2.2 หลักสูตรนานาชาติต้องมีความทันสมัย
8.2.3 หลักสูตรนานาชาติจะต้องเป็นหลักสูตรที่ตลาดงานรองรับ 100%
8.2.4 หลักสูตรจะต้องตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการในเขตภูมิภาคของมหาวิทยาลัย
8.3 ผู้เรียนต้องมีความต้องการพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความเป็นนานาชาติในสาขาวิชาที่เป็นที่ยอมรับจากองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
8.4 ผู้สอนมีความจำเป็นที่จะต้องมีศักยภาพในการสอนสูงมาก
8.5 ระบบการศึกษาจัดให้เป็นเหมือนกับหลักสูตรปกติ เป็นภาคการศึกษา
8.6 การจัดการเรียนการสอน เช่น สื่อการเรียน เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก เวลา สถานที่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
8.7 เกณฑ์การคัดเลือกและคุณสมบัติของผู้เรียน จะต้องทำการสอบวัดคุณสมบัติเฉพาะสาขาวิชา และมีการจัดสอบวัดความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์
8.8 การวัดและประเมินผลหลักสูตรนานาชาติต้องมีการจัดการตามรูปแบบของการจัดการศึกษาภาคปกติ โดยมีการวัดประเมินผลจากผู้เรียน ผู้สอนตามปกติ
9. ระบบการบริหารงานการจัดการศึกษานานาชาติ
9.1 งบประมาณควรมาจากการพึ่งตนเอง จากมหาวิทยาลัย และจากส่วนกลางรัฐบาล
9.2 บุคลากรมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับการจัดการศึกษานานาชาติ
9.3 อาคารสถานที่ควรดึงดูดความสนใจจากนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาคนไทย มีการจัดภูมิทัศน์ การมีป้ายอาคารและห้องเรียนอย่างชัดเจน และมีความสอดคล้องกับความเป็นนานาชาติ
10. กลุ่มเป้าหมายในการเรียนหลักสูตรนานาชาติ
10.1 นักศึกษาต่างชาติที่สนใจศึกษาในวิทยาลัยนานาชาติ
10.2 นักศึกษาไทยที่มีความรู้ทางภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ
10.3 นักศึกษาที่มีความสนใจเฉพาะทางในหลักสูตรนานาชาติที่มักไม่ได้เปิดสอนในหลักสูตรปกติ เช่น สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ, สาขาธุรกิจการบิน, สาขาการจัดการโรงแรมและการบริการ, สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ฯลฯ
อภิปรายผลการวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏปฏิบัติการระดับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่มีความแตกต่างกันในด้านบริบทต่างๆ ควรวางแผนปฏิบัติการการจัดการศึกษานานาชาติให้สอดคล้องกับนโยบาย ทิศทาง วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด
ข้อเสนอแนะ
แต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏควรมีการวางแผนและนโยบาย
ในการจัดการศึกษานานาชาติอย่างชัดเจนทั้งแผนสั้น 4 ปี และแผนยาว 15 ปี เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการปฏิบัติ เนื่องจาก ในปัจจุบันประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความตื่นตัวมากในการจัดการศึกษานานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่ขาดแคลน
สิ่งที่ควรดำเนินการระยะแรกอย่างเร่งด่วน
1. นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อกำหนดหลักสูตนานาชาติที่มีความสำคัญ และคาดว่าจะมีความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการหลักสูตร
2. หน่วยงานระดับปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัยควรรับนโยบายการจัดการศึกษานานาชาติเพื่อนำไปสู่การเตรียมการและการปฏิบัติ
3. สร้างความเข้าใจและปลูกฝังความเป็นนานาชาติให้แก่บุคลากรทุกฝ่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเปิดหลักสูตรนานาชาติ
4. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรนานาชาติดังกล่าวให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งการจัดการแนะแนวการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาเพื่อให้ทราบถึงประโยชน์และความสำคัญของการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ
5. ในการจัดการศึกษานานาชาติต้องพยายามผลักดันให้ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และนักศึกษา มีบทบาทในการเผยแพร่ชื่อเสียง สร้างผลงานอันเป็นที่ประจักษ์แก่สากล ให้เป็นพื้นฐานในการยอมรับจากประชาชนและองค์กรต่าง ๆ
6. หากมหาวิทยาลัยราชภัฏใดยังไม่มีการจัดหลักสูตรนานาชาติ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่เป็นนานาชาติเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับนานาชาติ
เอกสารอ้างอิง
กรมสามัญศึกษา. (2545). การวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
กรมส่งเสริมการส่งออก. (2548). ธุรกิจการศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงพานิชย์
กระทรวงศึกษาธิการ (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
_______. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และกฎกระทรวงแห่งราชการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
กล้า ทองขาว. (2548). การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ แนวคิด ทฤษฎี และแนวการดำเนินงาน.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กิ่งพร ทองใบ. (2547). กลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คนึง สายแก้ว. (2543). สภาพปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : คณะ ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์
คนึง สายแก้ว และคณะ. (2546). หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัยในชุมชนเกษตรกรรม. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
_______. (2539). รื้อปรับระบบสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2540). บนเส้นทางอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัส สุวรรณเวลา. (30 กรกฏาคม 2548). ทักษิณ ห่วงเปิดเสรีการศึกษา. กรุงเทพฯ : มติชนรายวัน หน้า 12
จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2545). การจัดการเชิงกลยุทธ์ : กรุงเทพฯ : หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎีและกรณีตัวอย่างนนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถวิล มาตรเลี่ยม. (2545). การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2552). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.
ทวีป ศิริรัศมี. (2544). การวางแผนพัฒนาและการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกอ).
ธเนศ จิตสุทธิภากร. (2547). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการโปรแกรมนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาอุดมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2541). สถิติการศึกษาและแนวโน้ม.กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
บุญเลิศ คงคาเย็น และคณะ. (2547). การวัดเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีเจ พริ้นติ้ง.
ประกอบ คุปรัตน์. (2548). ระบบอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2545). นโยบายและการวางแผนหลักการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.
ประธาน คงฤทธิ์ศึกษาคาร. (2446). การบริหารเพื่อการพัฒนาของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : บริษัทปิ่นเกล้าการพิมพ์.
ประเวศ วะสี. (2544). ในยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ
พรชุลี อาชวอำรุง. (2543). แนวทางการปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการอุดมศึกษา รูปแบบการจัดกลุ่มอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับศักยภาพปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2545) หลักสูตรนานาชาติศาสตร์ และศิลป์สู่สากล. เอกสารบรรยายของผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดทบวงมหาวิทยาลัย 31 ตุลาคม 2545 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
_______. (2547) บทความความเป็นสากลของอุดมศึกษาต้องตีค่าที่รากฐาน. มกราคม กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พวงรัตน์ เกสรแพทย์. (2543). การวางแผนกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
โยธิน ศรีโสภา. (2542). นโยบายและการวางแผน. นครปฐม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทนามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.
รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
ลิขิต ธีรเวคิน. 2527. ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เลขาธิการสภาการศึกษา. (2546). รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2544). รายงานการสัมมนาระดับชาติเรื่องความเป็นสากลของการอุดมศึกษา
ไทย. ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้. จังหวัดชลบุรี.
วิลาวัณย์ จารุริยานนท์. (2542). แนวโน้มการจัดโปรแกรมนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาใน
สถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2543 -2552.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2542). การบริหารแผนเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาครัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ. (2546). การวางแผนกลยุทธ์ ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2533). มหาวิทยาลัยสิงคโปร์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจิตร ศรีสะอ้าน. (ม.ป.ป.). การวิจัยเชิงนโยบายกับการพัฒนาอุดมศึกษา.ใน สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (บรรณาธิการ). โครงการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การวิจัยเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2543). กระบวนการนโยบายทางการศึกษา จากการเมืองสู่ระบบราชการ : ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
_______. (2546). การบริหารการศึกษา หลักการ ทฤษฏี หน้าที่ ประเด็นและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ และอัญชลี สารรัตนะ. (2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ผลการวิจัย : ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและการวิพากษ์. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
สุวิมล ติรกานนท์. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.
เสนาะ ติเยาว์. (2546). การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2531). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2546). การพัฒนาการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2539). การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ : สู่ความก้าวหน้าและความมั่นคงของชาติในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2548). การเปิดการค้าเสรีการค้าบริหาร บริบทด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สุชาติ เมืองแก้ว. (2544). การพัฒนารูปแบบและกลไกการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. กรุงเทพ : วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาอุดมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. (2552). รายงานการสัมมนาทางวิชาการเรื่องสู่เส้นทางการปฏิรูปอุดมศึกษาครั้งที่ 10 ศตวรรษใหม่อุดมศึกษาไทย : บทเรียนจากการปฏิรูปอุดมศึกษานานาประเทศ. หน้า 5-8 4 (สิงหาคม). ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลช. กรุงเทพมหานคร.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2547). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.
อรุณี โคตรสมบัติ. (2542). การศึกษาทัศนะของผู้บริหารอาจารย์ และนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษาของสถาบันราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย บุญประเสริฐ และ จิราภรณ์ จันทร์สุพัฒน์. (2544). รายงานการวิจัย เรื่อง ภารกิจ โครงสร้างและอัตรากำลังของสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. โครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
อำนาจ บัวศิริ. (2539). การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์นานาชาติในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. ภาควิชาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำรุง จันทวานิช และไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2542). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ. วารสารทางวิชาการ
อุทัย เลาหวิเชียร และวรเดช จันทรศร. (2548). การศึกษาในสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
Aderson,Janes E. (1975). Public Policy-making. New York : Praeger Publishers.
Ann Majchrzak. (1984). Methods For Policy Research. New Delphi : Newbury Park London:
Barlosky, Martin & Lawton, Stephen. (1994). Developing Quality School : A Handbook. Ontario : Inkwell Graphics.
Barth, R.S. (1990). Improving School from Within. San Francisco, CA : Jossey-Bass.
Bartol, K. Marten. D. Tein. M. & Mayyhew. G. (1998). Management : A pacific rim Focus. 2nd edition. Roseville NSW : Mc Graw - Hill.
Brewer, Jo Ann. (1995). Introduction to Early Childhood Education: Preschool Through Primary Grades. 2nd edition. Boston : Allyn and Bocon.
*********************************