วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ในงานวิจัย

ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ มีสาระสำคัญดังนี้ (อุทุมพร จามรมาร, 2539 อ้างใน ประจวบ สุขสมบูรณ์ 2543 : 35) 1.1 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เพียงแต่มีโครงการของคำถามสำหรับเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัย 1.2 การอภิปรายกลุ่ม (Focus Group Disscussion) หรือการระดมความคิด ได้แก่ การนำผู้ให้ข้อมูลมารวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แล้วถามคำถามเพื่อให้กลุ่มให้ข้อมูลโดยการอภิปราย 1.3 การสังเกตพฤติกรรมหรือวิธีการหรือวิธีการปฏิบัติ เป็นวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อการแสวงหาข้อมูลจารกกลุ่มเล็ก เทคนิคนี้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการสังเกตวิเคราะห์และมีความอดทนในการสังเกตที่ใช้เวลา 1.4 การวิเคราะห์เนื้อหาสาระจากเอกสาร เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ร่วมกับวิธีรวบรวมข้อมูลแบบอื่น โดยเฉพาะในการอ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ผลจากการอ่านจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบการวิจัยได้เหมาะสม เลือกเทคนิควิเคราะห์ เขียนรายงานและอภิปรายผลได้กว้างขวางลึกซึ้ง การวิจัยเชิงคุณภาพไม่จำเป็นต้องใช้สาระสำคัญครบทั้งสี่ประการ จะเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าที่ใช้กันโดยทั่วไปในวิชาสังคมศาสตร์ เป็นรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ผู้สอบถามและผู้ตอบ ภายใต้กฏเกณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเป็นการสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายเป็นหลัก มีความยืดหยุ่น ผู้สัมภาษณ์มีโอกาสอธิบายขยายความหรือซักถามเพิ่มเติมติดต่อกันเพื่อให้ผู้ตอบเข้าใจจุดประสงค์ของผู้สัมภาษณ์ทั้งยังสามารถเปลี่ยนสถานการณ์หรือหาทางวกกลับเมื่อผู้ตอบไม่ตรงคำถาม การสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบออกเป็น 2 ประเภท (สุภางค์ จันทวานิช 2537 : 75-103 อ้างถึงใน เสน่ห์ จุ้ยโต 2542) 2.1 แบบของการสัมภาษณ์ แบบการสัมภาษณ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 2.1.1 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างหรือการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Structured Interviw or Formal Interview) มีลักษณะคล้ายแบบสอบถามเพราะคำถามถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า การสัมภาษณ์แบบนี้มีคำถามและข้อกำหนดตายตัว จะสัมภาษณ์ผู้ใดก็ใช้คำถามแบบเดียวกันมีลำดับขั้นตอนเรียงกันเหมือนกัน โดยปกตินักวิจัยเชิงคุณภาพมักจะไม่ใช้วิธีนี้เป็นวิธีการหลัก เพราะไม่ช่วยให้ได้ข้อมูล ที่ลึกซึ้งและครอบคลุมเพียงพอ โดยเฉพาะในแง่วัฒนธรรม ความหมาย และความรู้สึกนึกคิด 2.1.2 การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) เป็นแบบที่มักจะควบคู่กันกับการสังเก็ตแบบมีส่วนร่วม มักจะใช้วิธีการวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณา ซึ่งต้องการข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชน และข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้มีผู้รวบรวมมาก่อน ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม ในการสัมภาษณ์แบบนี้ผู้วิจัยมักจะสัมภาษณ์เอง จึงจะได้รู้ว่า ต้องการข้อมูลแบบใดเพื่อวัตถุประสงค์ใด โดยอาจเตรียมคำถามกว้าง ๆ มาล่วงหน้า การสัมภาษณ์แบบนี้แบ่งออกเป็น 4 แบบย่อย คือ - แบบแรกเป็นการสัมภาษณ์โดยเปิดกว้างไม่จำกัดคำตอบเพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีอิสระที่จะอธิบายแนวคิดของตนเองไปเรื่อย ๆ จึงเหมาะที่จะใช้กับผู้วิจัยที่ยังไม่มีแนวคิดเฉพาะเจาะจงสำหรับข้อมูลที่ได้รับ หากแต่แนวคิดด้านทฤษฏีในเรื่องนั้น ๆ ชัดเจนดีอยู่แล้ว - แบบที่สอง การสัมภาษณ์แบบไม่มีจุดสนใจเฉพาะ (Focus Interview) หรือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ( In depth Interview) ผู้สัมภาษณ์มีจุดสนใจอยู่แล้วจึงพยายามหันความสนใจของผู้ถูกสัมภาษณ์ให้เข้าสู่จุดที่สนใจ ผู้วิจัยต้องรู้จักรวบรัดหรือตัดบทโดยไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เกิดความรู้สึกไม่สบายใจและไม่อยากให้ความร่วมมือ - แบบที่สามเป็นการสัมภาษณ์แบบตะล่อมกล่อมเกลา (Probe) โดยการซักถามที่ล้วงเอาส่วนลึกของความคิดออกมา ต้องใช้วาทศิลป์เพื่อให้ผู้ตอบเล่าเรื่องทั้งหมด ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทนายความมักนิยมใช้กัน - แบบที่สี่เป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant Interview) โดยการกำหนดตัวผู้ตอบบางคนเป็นการเฉพาะเจาะจง เพราะผู้ตอบนั้นมีข้อมูลที่ดีลึกซึ้งกว้างขวางเป็นพิเศษเหมาะกับความต้องการของผู้วิจัย เราเรียกบุคคลนี้ว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คุณค่าของผู้ให้ข้อมูลสำคัญอยู่ที่แง่มุมในการมองปรากฏการณ์แบบคนใน (Emit) ของเขาผู้วิจัยจึงไม่ควรเอาความคิดตนเองไปใส่ในระบบความคิดของผู้ให้ข้อมูลสำคัญจนเขาสูญเสียทัศนะแบบคนใน 2.2 ขั้นตอนการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 2.2.1 ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์ โดยการเลือกกลุ่มบุคคลที่จะไปสัมภาษณ์ ศึกษาว่าเขาคือใคร เตรียมรายละเอียดต่าง ๆ วางแผนการสัมภาษณ์ และซักซ้อมการสัมภาษณ์กับผู้อื่นก่อน 2.2.2 ขั้นเริ่มการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย แนะนำตัวเอง สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง บอกวัตถุประสงค์ พูดคุยอุ่นเครื่องก่อนการสัมภาษณ์จริง กรณีที่จะมีการบันทึกหรือใช้เครื่องบันทึกเสียงต้องแจ้งให้ผู้สัมภาษณ์ทราบด้วย 2.2.3 ขั้นสัมภาษณ์ ใช้คำถามที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เป็นนักฟังที่ดี รู้จักป้อนคำถามได้เหมาะสม ใช้ภาษาสุภาพเข้าใจง่าย 2.2.4 ขั้นบันทึกข้อมูล และสิ้นสุดการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย การจดบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง เจาะเฉพาะข้อมูลสำคัญ รีบทำการบันทึกการสัมภาษณ์ให้แนบไว้กับบันทึกการสัมภาษณ์นั้นด้วย 2.2.3 การบันทึกคำตอบ สำหรับการบันทึกคำตอบ จากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยมีโอกาสเลือกได้ 2 วิธี - ใช้แถบบันทึกเสียงช่วย ซึ่งอาจจะทำให้สิ้นเปลืองและเป็นทางการมากเกินไป - บันทึกการสัมภาษณ์ในขณะสัมภาษณ์และเขียนรายละเอียดภายหลัง 2.4 หลักการบันทึกคำตอบ ในการบันทึกคำตอบ ครอบคลุมข้อมูลดังต่อไปนี้ 2.4.1 ทัศนคติของผู้ให้สัมภาษณ์และต่อการสำรวจ 2.4.2 ลักษณะปกปิดของผู้ให้สัมภาษณ์ที่อยู่อาศัยหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของผู้ให้สัมภาษณ์ 2.4.3 องค์ประกอบใด ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสัมภาษณ์ เช่น การขัดจังหวะ ความยุ่งยากเกี่ยวกับนักศึกษา ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ตอบคำถามบางข้อ 2.4.4 ข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากคำตอบจากการสัมภาษณ์ รูปแบบวิธีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนำเสนอแนวคิดและกระบวนการดำเนินงานใหม่ ๆ หากไม่สามารถนำแนวคิดและสิ่งที่นำเสนอ ใหม่นั้นไปทดลองหรือปฏิบัติจริงเพื่อประเมินความถูกต้องเหมาะสมได้ การประเมินตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒินี้ ถือว่าเป็นวิธีการประเมินทางการศึกษาที่เรียกว่า วิพากษ์วิจารณ์ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิติชม และเชื่อถือได้เพราะว่าเป็นการตัดสินหรือการวิพากษ์วิจารณ์โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ในศาสตร์สาขานั้นหรือวิชาชีพนั้น ๆ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ (Conrad and Wilson, 1985อ้างถึงใน อุไรพรรณ เจนวานิชยานนท์, 2537) ความสำคัญของวิธีการวิจัยนี้คือ “จุดการวิพากษ์วิจารณ์” ได้แก่ ค่านิยม และมโนทัศน์ที่ได้จากประเพณีหรือพิสัย การทำงานประจำ และจากทฤษฏีโดยตรงและโดยอ้อมเกี่ยวกับธรรมชาติของมาตรฐานในการประเมินค่าและคุณภาพต่างๆ จุดการวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้สะสมอยู่ในตัวของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งพื้นฐานการศึกษาและการฝึกฝนของผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ด้วยในลักษณะดังกล่าวที่กล่าวนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิก็คือ “เครื่องมือ” ในการวิจัยรูปแบบนั่นเอง การวิจัยแบบนี้อาจใช้เทคนิคเดลฟาย คือ การสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มหนึ่งและรายงานผลในลักษณะข้อมูลย้อนกลับและอาจถามว่าจะเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นเดิมหรือไม่ กลับไปกลับมาหลาย ๆ ครั้งจนกว่าจะเกิดความเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ในปัญหาการวิจัยที่สอบถาม แล้วผู้วิจัยจึงรวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อสรุป (ถ้ามี) และอาจเขียนรายงานด้วยก็ได้ (พรชุลี อาชวอำรุง, 2528 อ้างถึงในอุไรพรรณ เจนวาณิชยนนท์, 2537) วิธีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิตามแนวคิดของไอส์เนอร์ (Eisner) เป็นรูปแบบการวิจัยอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างจากรูปแบบการประเมินอื่นๆ โดยไอส์เนอร์ (อ้างถึงใน พรชุลี อาชวอำรุง, 2528) ผู้พัฒนาแนวความคิดนี้ได้ชี้ถึงปัญหาที่การวิจัยการศึกษามักถูกครอบงำด้วยกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการประมาณมากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ เรื่องราวทางการศึกษาหลายเรื่องเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ทั้งไอส์เนอร์เชื่อว่าการรับรู้สิ่งใดก็ตามด้วยความเท่าเทียมกัน เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของความเป็นผู้รู้ (Connoisseurship) ด้วยเหตุผลนี้แนวทางการประเมินผลทางการศึกษาตามแนวคิดของไอสเนอร์จึงมีลักษณะพื้นฐานต่างจากแนวทางอื่นๆ ดังนี้ 1. เป็นรูปแบบที่มิได้เน้นสัมฤทธิ์ผลของวัตถุประสงค์จากรูปแบบการประเมินแบบอ้างอิงเป้าหมาย (Goal 3 Based Model) การตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้องตามรูปแบบการประเมินแบบตอบสนอง ( Responsive Model) อย่างใดอย่างหนึ่งแต่การประเมินโดยผู้รู้หรือผู้ทรงคุณวุฒิจะเน้นการวิเคราะห์วิจารณ์อย่างลึกซึ้งเฉพาะในประเด็นที่ถูกนำขึ้นมาพิจารณา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกี่ยวโยงกับวัตถุประสงค์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกับกระบวนการตัดสินใจเสมอไป แต่อาจผสมผสานปัจจัยในการพิจารณาต่าง ๆ เข้าด้วยกันตามวิจารณญาณของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับคุณภาพ ประสิทธิภาพหรือความเหมาะสมที่ทำการประเมิน 2. เป็นรูปแบบการประเมินที่เน้นความเป็นเฉพาะทาง (Specialization) ในเรื่องที่ประเมินโดยพัฒนามาจากการวิจารณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น ต่อมาได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาระดับสูงในสาขาเฉพาะที่ต้องอาศัยผู้รู้ ผู้เล่นในเรื่องนั้นจริง ๆ มาเป็นผู้ประเมินผล รูปแบบนี้จึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ประเมินผลในวงการอุดมศึกษาที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูง 3. เป็นรูปแบบการประเมินผลที่ใช้ตัวบุคคลผู้ทรงคุณวุ ฒินั่นเองเป็นเครื่องมือการประเมินผลโดยเน้นความเชื่อถือว่าผู้ทรงคุณวุฒินั้นจะเที่ยงธรรมและมีวิจารณญาณที่ดี ทั้งนี้มาตรฐานและเกณฑ์พิจารณาต่าง ๆ นั้น จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และความชำนาญการของผู้ทรงคุณวุฒิ 4. เป็นรูปแบบที่ยอมให้มีความยืดหยุ่นในกระบวนการทำงานของผู้ทำงานของผู้ทรงคุณวุฒิตามอัธยาศัยและความถนัดของแต่ละคน นับตั้งแต่การกำหนดประเด็นที่จะพิจารณาการบ่งชี้ ข้อมูลที่ต้องการ การเก็บรวบรวม ประมวลผลและวินิจฉัยข้อมูล ตลอดจนการนำเสนอ ทั้งนี้การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิจะเน้นที่สถานภาพทางวิชาชีพ ประสบการณ์เป็นที่เชื่อถือ (High Credibility) ของวิชาชีพนั้นเป็นสำคัญ สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกสาระสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์สาระ (Content Analysis) และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในแนวลึก (in- depth strured Interview)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น