Business Computer Program, Faculty of Management science, Surindra Rajabhat University, Surin, Thailand 32000
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
แบบเสนอเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper)
สำหรับการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก สาขาความเป็นผู้นำและบริหารการศึกษา
ของ นางสาวประภาพร บุญปลอด รหัสประจำตัว 49477040109
โดยคาดว่าจะเรียนเชิญอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก/อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดังต่อไปนี้
1. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์
2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม -
3. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมภายนอก -
1. ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์
ภาษาไทย : ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ
ภาษาอังกฤษ : A PROPOSAL POLICY FOR MANAGEMENT SURINDRA RAJBHAT UNIVERSITY TO INTERNATIONAL UNIVERSITY.
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในยุคขอมูลขาวสารที่ความกาวหนาทางเทคโนโลยีและการเปดเสรีทางการคาและการลงทุนระหวางประเทศ ไดเขามามีบทบาทในการขับเคลื่อนกระแสการพัฒนาประเทศเปนตนมารัฐบาลหลายประเทศไดตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาระดับสูงและสงเสริมใหนักศึกษามีการศึกษาในสถาบันการศึกษาในตางประเทศมากขึ้น เพื่อขยายโลกทัศนใหนักศึกษามีความเขาใจถึงวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงมีความสามารถในการสื่อสารไดหลายภาษาและเขาใจรูปแบบในการดําเนินธุรกิจขามพรมแดนอยางลึกซึ้ง ซึ่งจากสถิติของ OECD, British Councilและ IDP Education Australia ไดชี้ใหเห็นถึงแนวโนมและโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีของการศึกษานานาชาติ โดยประมาณการวาจํานวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เดินทางออกไปศึกษาตอในตางประเทศจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นจาก 2.12 ลานคน ในป 2546 เปน 8 ลานคน ในป 2568 หรือเพิ่มขึ้นอีก 3 เทาตัวในระยะ 20 ป ขางหนา ทั้งนี้ประเทศไทยสนใจในการพัฒนาเพื่อเสริมสรางศักยภาพและขีดความสามารถในการใหบริการดานการศึกษาระดับอุดมศึกษานานาชาติ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจะชวยพัฒนาศักยภาพของการใหบริการดาน การศึกษานานาชาติ เพื่อพรอมรับการเปดเสรีตามขอตกลงทั่วไป วาดวยการคาบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) และจะชวยพัฒนาและเสริมสรางบทบาทของประเทศในการเปนศูนยกลางทางการศึกษาในระดับอนุภูมิภาคและระดับภูมิภาครวมทั้งกอใหเกิดประโยชนโดยตรงตอภาคการผลิตของประเทศทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการยุทธศาสตรหลัก ที่จะสามารถดําเนินกิจกรรมที่เปดกวางและเชื่อมโยงเป็นเครือขายกับสาขาการผลิตในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระดับภูมิภาคและตลาดโลกไดอยางมีประสิทธิภาพ มิติของความเปนนานาชาติในบริบทของการศึกษาที่เกิดขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกฐานะจากสถาบันราชภัฎ ที่สังกัดอยู่ในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งมีสถานภาพเหมือนกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทยทุกประการ คำว่าราชภัฏอันเป็นส่วนหนึ่งของคำประสมในคำว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความหมายว่า ผู้อันพระราชาทรงเลี้ยง หรือมีความหมายว่า คนของพระราชา โดยเป็นคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัยและได้โปรดเกล้าพร้อมทั้งพระราชทานตราประจำพระองค์ให้เป็นตราประจำสถาบันจึงอาจกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่ง เป็น โพธิยาลัย มหาวิทยาลัยหรือเป็นสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ ช่วยกอบกู้บ้านเมืองให้หลุดพ้นจากโมหภูมิ ดังนั้น ภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงมุ่งที่จะจัดการศึกษาให้บังเกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยต้องค้นหาและยึดความคิดและทฤษฏีใหม่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ดังที่พระองค์ท่านได้มีพระราชดำรัสไว้ว่า การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือ การสร้างสรรค์ความรู้ความคิด พร้อมทั้งคุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลเพื่อให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ย่างมั่นคงและราบรื่น ทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์สุข เพื่อตนเพื่อส่วนรวม ตามสมควรแก่อัตภาพ ผู้ทำหน้าที่ด้านการศึกษาทุกฝ่าย ทุกระดับควรจะมุ่งทำงานเพื่อวัตถุประสงค์นี้ยิ่งกว่าสิ่งอื่น (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2545, หน้า 12)
เพื่อสนองพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยยึดหลักการสำคัญในอันที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสนองพระราชดำริในการนำทฤษฏีใหม่มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศนั้น ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน และมีการบำรุงรักษา รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแผ่นดินอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การกำหนดภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยซึ่งก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้ใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเมื่อปี พ.ศ. 2547 นั้น ได้มีรากฐานของพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูและพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏมาก่อน กล่าวคือในส่วนของพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูมีภารกิจ โดยให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพครูและวิทยฐานะครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและให้บริการวิชาการแก่สังคม (กรมการฝึกหัดครู, 2534, หน้า 1) และพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏมีภารกิจคือ ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู (กองการฝึกหัดครู, 2540, หน้า 2) ตามลำดับ จนปัจจุบันนี้สถาบันราชภัฏได้เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยบริหารมหาวิทยาลัย ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 คือให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การทำนุบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู (พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ, 2547, หน้า 2)
การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อก้าวไปสูความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาตินอกจากกำหนดเป็นวิสัยทัศน์หรือแนวคิดในการมองการณ์ไกลแล้ว แนวคิดในการมองภาพอนาคตนั้นจะต้องนำมากำหนดให้เป็นภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) ซึ่งจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ที่กำหนดภารกิจหรือพันธกิจไว้ สรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องมุ่งบริหารจัดการศึกษามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถมีความเป็นเลิศโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจำเป็นต้องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยการเผยแพร่ความรู้และบริการสังคมด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งจะกระทำควบคู่กับการบริหารจัดการด้านบริการทางวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏมีพันธกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่ การผลิตครู วิทยะฐานะครูและพัฒนาทุกวิถีทางที่จะยกฐานะครูให้มีผลงานทางวิชาการ มีผลงานสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและจริยธรรมและดำรงตนอยู่ในฐานะปูชนียบุคคลที่สำคัญ
การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ หากได้ดำเนินการบริหารที่ไร้ทิศทาง ไร้วิสัยทัศน์และไม่มีการนำวิสัยทัศน์มากำหนดภารกิจหรือพันธกิจ กำหนดเป็นวัตถุประสงค์เพื่อนำไปจัดทำกรอบการวางแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการแล้ว ก็จะก่อให้เกิดสภาพปัญหาในการบริหารจัดการ ทำให้การบริหารจัดการเกิดภาวะชะงักงัน ทำให้การผลิตบัณฑิตไม่เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ หรือกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการว่า ต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างไรซึ่งเมื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนแล้ว การบริหารจัดการย่อมจะก่อให้เกิดศักยภาพในการบริหาร และนำไปสู่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่ตั้งไว้
จากการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งเป็นภาพการบริหารจัดการอันจะเกิดในอนาคต ซึ่งถ้าหากได้มีการบริหารจัดการตามผลการวิจัยที่จะเกิดขึ้นมานี้แล้ว จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินไปในแนวทางที่มีการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง นอกจากนี้แล้วผู้วิจัยมีความสนใจที่ และสงสัยว่าวิธีการบริหารจัดการ ของอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ทีมบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีบทบาทมาก ต่อระดับความสำเร็จของการบริหาร ซึ่งปัจจุบันฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้แล้วและได้กำหนดภารกิจให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ และถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ต้องปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จควรทำอย่างไร ควรจะเป็นรูปแบบอย่างไร จะใช้ทรัพยากรทางการบริหารที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล งบประมาณ การบริหารงานทั่วไปและการบริหารงานวิชาการจะบริหารจัดการอย่างไรจึงจะทำให้การบริหารประสบผลสำเร็จ และถ้าได้ศึกษาความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถาบันราชภัฏเดิม ซึ่งปัจจุบันเป็นอธิการบดีที่ประสบความสำเร็จ น่าจะนำไปสู่การคิด การสังเคราะห์ การพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย ราชภัฏภายใต้กฎหมายใหม่ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติได้สำเร็จ เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลควรเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อการประสบความสำเร็จเพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติที่มั่นคงและยั่งยืนสืบไป
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ ในองค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ (เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ของการบริหารทั้งโดยภาพรวมและในด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป
4. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 คะนึง สายแก้ว. –ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยในจังหวัด
สุรินทร์ 2549. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.2 จรัส สุวรรณเวลา. 2540. บนเส้นทางอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.3 ชาญชัย อาจิณสมาจาร. 2540. บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ
4.4 ไชยยา ภาวะบุตร. –ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2549. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.5 ทองคูณ หงส์พันธ์. 2542.แนวทางการสร้างสรรค์สถาบันราชภัฏ . อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบล
4.6 พิกุล ภูมิโคกรักษ์. 2550,4.1 รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
4.7 พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 2544. ร่างข้อเสนอนโยบายและแผนการปฏิรูปการผลิตและการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
4.8 พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 2544. รายงานการวิจัยเรื่องภาวะวิกฤติและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะคุรุศาสตร์ เพื่อปฏิรูปการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 9 (พ.ศ.2545-2554). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
4.9 พิธาน พื้นทอง. –ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2548. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.10 ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2550. การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.13 ไพบูลย์ เปานิล. –การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการศึกษาสถาบันราชภัฏ. 2546. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
12.14 วิจิตร ศรีสอ้าน. 2550. การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. ขอบเขตและประเด็นของการวิจัย
การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ มีขอบเขตการวิจัย ดังนี้
5।1 การกำหนดขอบเขตของข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัดของการบริหาร
5.2 การกำหนดขอบเขตของเนื้อหา กำหนดตามแนวการปฏิรูประบบบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดให้มีระบบโครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการศึกษาที่มีเอกภาพเชิงนโยบาย มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจทางการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารการเงินและงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาเพื่อการศึกษาใน 4 ด้าน ดังกล่าว และได้เพิ่มการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์อีกหนึ่งด้านด้วย โดยแต่ละด้านเป็นปัญหาเร่งด่วนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งจะต้องหาแนวทางปรับปรุงเพื่อนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้อย่างมีรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติต่อไป
6. วิธีดำเนินการวิจัย
6.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
1. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญมีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการทั่วไป การบริหารวิชาการ การบริหารการวิจัย การบริหารการเงินและงบประมาณ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางของทั้งหมด ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ สำนัก หรือเทียบเท่า
กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
1. ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 8 คน
2. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามถามความคิดเห็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีต่อข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาจากความนิยมของนักศึกษาที่สมัครสอบในแต่ละปีและจำนวนอาจารย์ผู้สอน และพิจารณาขนาดของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก คือมหาวิทยาลัยราชภัฏในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ดังนั้น จึงได้จำนวนผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นตัวแทน เลือกมาได้ 5 แห่ง จำนวนผู้บริหารทั้งสิ้นจำนวน 98 คน
6.2 เครื่องมือ การวิจัยครั้งนี้เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology Approach) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology Approach) เข้าด้วยกันในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัย และได้ประสานงานกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ต้องการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์สำหรับการวิจัยต่อไป โดยผู้วิจัยได้ส่งและจัดเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง
6.4 การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวทางของ
(Best & Kahn, pp. 246-250)
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ในอนาคต ในประเด็นที่สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ และเพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่เป็นรูปธรรม ที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องของรูปแบบการพิมพ์ ต้องดูให้มีการเว้นวรรค มี Space ระหว่าง Paragraph ให้ชัดเจน มีฉะนั้นเนื้อความจะกระจุกรวมกัน ยากแก่การอ่าน และทำให้ไม่มีการเน้น
ตอบลบควรให้มีเว้นบรรทัดระหว่าง Paragraph ต่อ Paragraph เว้นไว้สัก 12 Points ทั้งบนและล่าง ส่วนตัวอักษรให้เป็นขนาด 12 Tahoma หรือเทียบเท่า เพื่อทั้งนี้เมื่อดูงานผ่านทางระบบ PDA อย่าง iPhone จะมองเห็นตัวอักษรไม่ชัดเจน หากเล็กเกินไป
ขอให้พยายามต่อไปครับ