Business Computer Program, Faculty of Management science, Surindra Rajabhat University, Surin, Thailand 32000
วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553
ความเป็นผู้นำของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ
วัตถุประสงค์และมาตรการด้านความเป็นนานาชาติในแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 8
การส่งเสริมการศึกษานานาชาติในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย
การส่งเสริมการศึกษานานาชาติในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย
วิวัฒนาการและความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นสากลและความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา
การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ
การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ
ในการดำเนินการวิจัยเชิงนโยบาย วิโรจน์ สารรัตนะ (2548) และ Oaks (2003) ได้แบ่งขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยเชิงนโยบายออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้ คือ 1) ขั้นเตรียมการ (preparation) 2) ขั้นการกำหนดกรอบแนวคิด (conceptualization) 3) การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (technical analysis) 4) การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ(recommendation analysis) และ 5) การสื่อสารข้อเสนอแนะ (communication)
1) ขั้นเตรียมการ (preparation) ขั้นเตรียมการเป็นการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเบื้องต้น เกี่ยวกับสภาพในอดีต ปัจจุบัน ของบริบทนโยบายในปัญหาที่ศึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกระบวนการกำหนดทิศทางการศึกษาวิจัย ซึ่งประกอบด้วย 1) บริบทการกำหนดนโยบาย ทั้งในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตนอกจากนี้ยังรวมถึงกลไกเชิงนโยบาย (policy mechanism) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ (key stakeholders) และทำความเข้าใจโครงสร้างอำนาจ (power structure) ในการกำหนดนโยบาย 2) นิยาม ข้อตกลงเบื้องต้นและค่านิยมของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อปัญหาที่ศึกษาเพื่อให้เกิดความชัดเจน 3) ประเภทของข้อเสนอแนะที่เป็นไปได้เกี่ยวกับปัญหาที่ศึกษามีประเด็นใดบ้างที่เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นเส้นต่อเนื่อง (continuum) แบบค่อยเป็นค่อยไป (incremental change) ข้อเสนอแนะเพื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ (fundamental change) หรือข้อเสนอแนะแบบผสม (mixed scanning) 4) ทรัพยากรที่ต้องการและจำเป็นสำหรับการวิจัย เงิน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ด้วย และเพื่อเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารในกระบวนการขั้นเตรียมการดำเนินการวิจัยให้เกิดประสิทธิภาพ มี 8 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการเลือกปัญหาที่จะศึกษาวิจัย 2) ขั้นกำหนดประเด็นนโยบายที่สำคัญต่างๆ 3) การวิเคราะห์ความเป็นมาของประเด็นนโยบาย 4)สืบค้นงานวิจัยที่มีมาก่อนหน้า ผลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงและความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง 5) จัดหาแผนภูมิองค์การและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม 6) กำหนดรูปแบบกระบวนการตัดสินใจ 7)สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อรวบรวมข้อมูล 8) สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งในขั้นนี้ เป็นความพยายามของผู้วิจัยเพื่อตอบคำถามว่า ใครคือผู้ใช้ผลการวิจัย ใครมีอำนาจในการตัดสินใจ ความผูกพันและความคาดหวังในการนำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลมีมากน้อยเพียงใด บริบททางวัฒนธรรมสังคมเอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด มีความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า เหมาะสม ก่อนที่จะตัดสินใจทำการวิจัย
2) ขั้นตอนกำหนดกรอบแนวคิด (conceptualization) ในขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยเชิงนโยบาย มีกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ 1) การพัฒนาตัวแบบเบื้องต้นของปัญหาที่ศึกษา (developing a model of the social problem) 2) การกำหนดคำถามการวิจัย (formulating research questions) 3) การเลือกผู้ทำการวิจัย (choosing research study investigators) สำหรับกรณีการพัฒนาตัวแบบในขั้นต้นของปัญหาที่ศึกษานั้น ต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ถึงนิยามปัญหา สาเหตุของปัญหา สร้างตัวแบบ กำหนดค่านิยมและข้อตกลงเบื้องต้น เพื่อนำมาสู่การกำหนดคำถามการวิจัย (research questions) ซึ่งการพัฒนาตัวแบบเบื้องต้นของปัญหาที่ศึกษาต้องอาศัยข้อมูลที่ได้ในระยะเตรียมการ และศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (literature review) ดังนั้นตัวแบบเบื้องต้น ที่แตกต่างกันจะนำไปสู่คำถามการวิจัยที่แตกต่างกันด้วยดังนั้นต้องพัฒนาขึ้นด้วยความรอบคอบ มีข้อมูลประกอบอย่างเพียงพอและเห็นพ้องต้องกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหากมีความเห็นขัดแย้งกัน ต้องพัฒนาตัวแบบขึ้นใหม่ได้ผสมผสานกัน หรืออาจต้องเลือกใช้ตัวแบบใดตัวแบบหนึ่ง ส่วนกรณีคำถามการวิจัย กำหนดหลังจากการพัฒนาตัวแบบเบื้องต้นแล้วเพราะคำถามการวิจัยจะนำไปสู่การวางแผนระเบียบวิธีการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ ดังนั้นการกำหนดคำถามการวิจัยต้องคำนึงถึงขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดว่าผลที่คาดหวังจากการวิจัยคืออะไร เป็นไปในรูปแบบใด (incremental / fundamental / mixed) และเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายในระดับสูงหรือต่ำ 2) กำหนดประเด็นของปัญหาที่ศึกษา ควรคำนึงถึงความเป็นพหุมิติ (multi dimension) จะทำให้ได้ผลการวิจัยที่ครอบคลุม 3) กำหนดตัวแปรที่สามารถจัดกระทำเพื่อการเปลี่ยนแปลงได้ (malleable variables) 4) กำหนดคำถามการวิจัยจากตัวแปรที่กำหนดที่จะนำไปสู่ผลที่คาดหวัง โดยสะท้อนถึงประเด็นปัญหา สามารถศึกษาหาคำตอบได้เหมาะสมกับเวลาและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายทั้งปัจจุบันและอนาคตและต้องแสดงถึงนัยเชิงนโยบายโดยกำหนดประเด็นให้ผู้ตัดสินใจใช้แก้ปัญหาได้ สำหรับกรณีการเลือกผู้ดำเนินการวิจัย มีทางเลือก 3 ประเด็นคือ 1) ศึกษาเป็นทีมหรือเดี่ยวควรพิจารณาจากผลกระทบ ถ้าเป็นเรื่องใหญ่มีผลกระทบมากควรมีการศึกษาเป็นทีม และต้องคำนึงถึงหลักสหวิทยาการ (interdisciplinary) 2) การเลือกภูมิหลังของผู้วิจัย 3) ที่ปรึกษาการทำวิจัย อาจเป็นทีมที่ปรึกษาหรือเป็นคณะกรรมการอำนวยการ
3) ขั้นการวิเคราะห์เชิงเทคนิค (technical analysis) ในขั้นการวิเคราะห์เชิงเทคนิค เป็นขั้นตอนการตรวจสอบปัจจัย (factors) ที่อาจเป็นสาเหตุของปัญหา โดยมีขั้นตอนดังนี้ คือ 1) การนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการของตัวแปร 2) การออกแบบระเบียบวิธีการวิจัย 3) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล 4) การพัฒนาร่างข้อเสนอแนะ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 3.1) การนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการของตัวแปร (operationalization of variables) เป็นการกำหนดนิยามตัวแปรที่จัดกระทำและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (malleable variables) ที่กำหนดในขั้นตอนกำหนดคำถามการวิจัย และอยู่ในรูปดัชนีชี้วัด (indicators) มีความเฉพาะเจาะจงและวัดได้ 3.2) การออกแบบระเบียบวิธีการวิจัย (design of study methodology) การวิจัยเชิงนโยบายมุ่งเน้นหาข้อเสนอเพื่อการตัดสินใจ ระเบียบวิธีการวิจัยสามารถนำมาดัดแปลง (adapting) ผสม (combining) หรือปรับ (improvising) ให้มีความเหมาะสมมี 7 รูปแบบ คือ 1) การสังเคราะห์ประเด็น (focused synthesis) ใช้ในกรณีข้อมูลมาจากหลายแห่ง 2) การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary analysis) ใช้กรณีเพื่อการสร้างฐานข้อมูลใหม่ 3) การทดลองภาคสนาม (field experiments) โดยการทดลองใช้แบบหลักการสุ่ม (randomized field experiment) หรือแบบกึ่งทดลอง (quasi-experiment) 4) การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative methods) อาจเป็นการสัมภาษณ์กลุ่ม (focused group discussion) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) 5) การสำรวจ (survey) 6) กรณีศึกษา (case study) การวิเคราะห์ต้นทุน กำไร และต้นทุน ประสิทธิผล 3.3) การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (results an conclusion) ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของข้อมูลความสามารถในการตอบคำถามการวิจัย ใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุคูณ การวิเคราะห์โครงสร้างสัมพันธ์เชิงเหตุผล และเน้นผลการวิจัยเป็นสำคัญ 3।4) การพัฒนาร่างข้อเสนอแนะ (developing tentative policy recommendations) ให้นำความรู้เกี่ยวกับบริบททางสังคม การเมือง (sociopolitical context) มาพิจารณาประกอบด้วย และการให้ข้อเสนอแนะควรมีความหลากหลายทางเลือก ควรคำนึงถึงข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและข้อเสนออาจเกี่ยวกับกลไกเชิงนโยบาย(policy mechanisms) ที่สนับสนุนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
4) ขั้นการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ (recommendation analysis) การวิจัยส่วนใหญ่จบลงด้วยการสรุปผลและการให้ข้อเสนอแนะการวิจัยว่า “ควรทำอะไร” แต่สำหรับการวิจัยเชิงนโยบายจะเป็นการศึกษาต่อว่า “ควรทำอย่างไร” ประกอบด้วยการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 4.1) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (analysis of stakeholders) ที่มีผลต่อการตัดสินใจนโยบาย โดยอาจจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ตัดสินใจนโยบาย (decision makers) และกลุ่มผู้มีอิทธิพล (influencers) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ 1) ปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น เงิน อาสาสมัคร การประสานงาน ข้อมูลสารสนเทศ 2) คุณลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) ความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลังจากนั้นนำมาจัดทำแผนภาพโครงสร้างอำนาจ (power structure) โดยระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทิศทางการสนับสนุน รวมถึงการคัดค้านสถานะอำนาจและโอกาสในการตัดสินใจ การวิเคราะห์องค์การ (analysis of organization) จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบด้านโครงสร้างองค์การเพื่อการปฏิบัติ ทรัพยากรที่จะใช้และกลไกเชิงนโยบายที่จะสนับสนุนการปฏิบัติ 4.2) การคาดการณ์ถึงผลกระทบ (predict potential consequences of recommendations) จากข้อเสนอแนะอาจพิจารณาได้ใน 3 กรณี คือ 1) ผลกระทบที่คาดหวังและไม่ได้คาดหวัง 2) ผลกระทบโดยรวมที่มีต่อนโยบายอื่นหรือแผนงานอื่น และ 3) สิ่งที่อาจเกิดขึ้นถ้าข้อเสนอแนะนั้นไม่ได้นำไปปฏิบัติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจเกิดจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การใช้เทคนิคเดลฟาย หรือการวิเคราะห์ความเสี่ยง 4.3) การคาดคะเนโอกาสในการปฏิบัติ (estimating the probability of implementation) จากผลการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ศักยภาพขององค์การ และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น พอที่จะทำให้ผู้วิจัยคาดคะเนถึง “โอกาสในการปฏิบัติ” ทั้งในแง่ความเป็นไปได้ (feasible) และการยอมรับ (acceptable) ในลักษณะคาดคะเน (subjective) จากการแปลผลข้อมูลของผู้วิจัย ซึ่งโอกาสความเป็นไปได้ประมาณ 20-40 % ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตามข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยควรมีความหลากหลายทางเลือก โดยอาจแสดงค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบ “ข้อเสนอทางเลือก” (alternative recommendations) แต่ละทางเลือกนั้นด้วย 4।4) การจัดเตรียมข้อเสนอแนะสุดท้าย (preparation of final recommendations) ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องตั้งคำถามว่า “ข้อเสนอแนะนั้นจะมีผลต่อปัญหาที่ศึกษามากน้อยเพียงใด” ซึ่งหากประเมินได้ต่ำกว่า 60% ให้ปฏิบัติโดย 1) ยอมรับในความเป็นไปได้ที่ต่ำนั้น 2) เปลี่ยนแปลงเป้าหมายของข้อเสนอ และ 3) ปรับแก้ไขข้อเสนอใหม่โดยพิจารณาประเด็นความเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปกับการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน และต้องวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและวิเคราะห์องค์การ
5) ขั้นการสื่อสารผลการวิจัยต่อผู้ตัดสินใจนโยบาย การสื่อสารผลการวิจัยต่อผู้ตัดสินใจนโยบายถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อให้ผลการวิจัยได้รับการพิจารณาและนำไปสู่การปฏิบัติ และหากว่าไม่มีการสื่อสารผลงานวิจัยต่อผู้ตัดสินใจนโยบาย ทั้งนี้ก็ยังถือว่ายังไม่สิ้นสุดดังนั้นการสื่อสารที่มีความเหมาะสมคือ การสื่อสารแบบสองทาง (two way communication) และควรเลือกวิธีการและสื่อให้มีความเหมาะสมเพื่อให้ผู้ตัดสินใจนโยบายรับรู้ เข้าใจ และยอมรับในผลการวิจัย โดยเสนอแนะว่าการสื่อสารด้วยคำพูด (oral communication) ได้ผลที่ดีกว่าการเขียน (written communication) จากแนวคิดการวิจัยเชิงนโยบายดังกล่าวสรุปได้ว่านโยบายมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารงานในทุกองค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านการจัดการศึกษา ทั้งนี้ถือว่านโยบายเป็นตัวกำหนดชี้นำทิศทางและแนวทางการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาไปสู่เป้าหมายขององค์การ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติและกลไกเชิงนโยบายที่จะสนับสนุนให้การดำเนินการจัดการศึกษาบรรลุผลนั่นคือ เป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง และในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประสบความสำเร็จและได้ผลดีนั้นนอกจากผู้บริหารได้พิจารณาเลือกใช้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีความเหมาะสมกับหน่วยงาน องค์การ แล้วยังมีปัจจัยอีกหลายประการที่กำหนดความล้มเหลวหรือความสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จากการศึกษาผลงานวิจัยและการทบทวนผลงานทางวิชาการของ ศุภชัย ยาวะประภาษ (2538) พบว่าปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จและความล้มเหลวของหน่วยงานสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ในด้านลักษณะของนโยบาย พบว่านโยบายที่มุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ น้อยที่สุด นโยบายจะประสบผลสำเร็จมากกว่านโยบายที่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ มาก นโยบายที่มีการแพร่หลายการรับรู้จะส่งผลได้ดีกว่านโยบายที่จำกัดการรับรู้ นโยบายที่สามารถทดลองปฏิบัติก่อนจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่านโยบายที่ไม่ผ่านการทดลองใช้ และนโยบายที่สามารถชี้ให้เห็นผลที่ชัดเจนและสามารถส่งข้อมูลย้อนกลับจะเห็นผลสำเร็จของนโยบายที่มีความชัดเจนกว่า 2) ในด้านวัตถุประสงค์ของนโยบาย พบว่า ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ความยากง่ายในการรับรู้วัตถุประสงค์ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของนโยบาย ความเที่ยงตรงของข่าวสารจากผู้นำนโยบายสู่ผู้ปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้ถ้ามีความชัดเจนนั่นคือความสำเร็จของนโยบายด้วย 3) ความเป็นไปได้ทางเทคนิคหรือทฤษฎี การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้นเพื่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำเสนอร่างนโยบายต้องไม่ยุ่งยากซับซ้อน การเลือกทฤษฎีที่เชื่อถือได้และมีความเหมาะสมจะทำให้กรอบการมองปัญหาอย่างถูกต้อง ชัดเจนขึ้น และเทคโนโลยีที่เลือกใช้จะต้องสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ 4) ความพอเพียงของทรัพยากร ได้แก่ งบประมาณ กำลังและคุณภาพของบุคลากร ความพร้อมของปัจจัยบริการ เช่น วัสดุอุปกรณ์ สถานประกอบการ เครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวก 5) ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ เช่น ประเภทของหน่วยงาน หน่วยงานใหม่ที่ถูกผลักดันจากอิทธิพลการเมืองหรือหน่วยงานเดิมที่มีความพร้อมทางทรัพยากรอยู่แล้ว โครงสร้างและการลำดับขั้นการบังคับบัญชาถ้าเป็นหน่วยงานเล็กจะมีโอกาสประสบผลสำเร็จได้เร็วกว่าหน่วยงานขนาดใหญ่ ด้านการสื่อสารแบบเปิดที่มีความสัมพันธ์ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ด้านความสามารถของผู้นำ ถ้าผู้นำที่เข้มแข็งจะสามารถระดมความสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ ได้ดีและสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จได้ 6) ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ แต่จะต้องมีทัศนคติที่ดีกับวัตถุประสงค์ของนโยบาย ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจ เห็นด้วยและมีความผูกพัน เพื่อขจัดความขัดแย้งซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการปฏิบัติตามนโยบาย 7) ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่างๆ ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ จำนวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ดั้งเดิม จำนวนจุดตัดสินใจถ้ามีมากจะส่งผลให้การปฏิบัติตามนโยบายมีความล่าช้า และการแทรกแซงจากหน่วยงานระดับบนถ้ามีมากเกินไป นโยบายสู่การปฏิบัติจะประสบปัญหาได้ นอกจากนี้จากการศึกษาของสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (2540) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ แหล่งที่มาของนโยบาย ความชัดเจนของนโยบาย การสนับสนุนนโยบาย ความซับซ้อนในการบริหาร สิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัติ และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อการสนับสนุนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เหมาะสมและเพียงพอ และจากศึกษาผลการประเมินการนำนโยบายการศึกษาไปสู่การปฏิบัติของ Green & Waterman (1996) พบว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น ความเป็นไปได้ของแผนงาน โครงการ ตามนโยบายของรัฐที่นำไปปฏิบัติในพื้นที่ต่างกัน มีปัญหาต่างกัน การช่วยเหลือจากนักวิชาการเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการบรรลุผลตามนโยบาย และความสำเร็จของโครงการต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์การและบุคคลต่างๆ นอกจากนี้ในประเด็นที่เกี่ยวกับนโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ของ Wohistetler & Mohrman (1996) พบว่านโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษาจากส่วนกลางไปยังสถานศึกษา ทั้งนี้โดยให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมดูแล ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและสมาชิกในชุมชนพบว่าความสำเร็จของนโยบายเกิดจากการให้อำนาจการตัดสินใจในเรื่องนโยบาย การปฏิบัติและสั่งการ ในเรื่องงบประมาณและหลักสูตร และนอกจากนี้ควรมีการให้ความรู้แก่บุคลากรในองค์กรเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการ ทักษะงาน (job skills) ทักษะการทำงานเป็นทีม (teamwork) การให้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงรายรับ รายจ่ายขององค์การ และการใช้ระบบการให้รางวังที่พิจารณาจากผลงานขององค์กรและผลที่เกิดจากแต่ละบุคคล
องค์ประกอบและรูปแบบของนโยบาย
นอกจากนั้นอาจพิจารณาได้จากที่ ประชุม รอดประเสริฐ (2545) ได้กล่าวว่าปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของนโยบาย สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ 1) ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (fundamental factor) หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่ผู้กำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลา หากไม่คำนึงถึงอาจทำให้นโยบายขาดความสมบูรณ์และไม่สามารถปฏิบัติได้ เช่น ปัจจัยที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบาย วิธีการหรือกระบวนการในการดำเนินนโยบาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลและเอกสารต่างๆ 2) ปัจจัยที่เป็นสิ่งแวดล้อม (environmental factors) หมายถึงสิ่งแวดล้อมในสังคมที่ผู้กำหนดนโยบายต้องคำนึงถึง อาจเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมในสังคมมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบาย เช่น ปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมการเมือง ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ จากการศึกษาองค์ประกอบของนโยบายอาจกล่าวได้ว่านโยบายและกลยุทธ์ต่างเป็นประเภทของแผนงาน (types of plan) อันเป็นผลที่ได้จากกระบวนการวางแผน (planning) ดังที่ กิ่งพร ทองใบ (2547) กล่าวว่า การวางแผนเป็นหน้าที่ทางการบริหาร (managerial functions) หมายถึงกระบวนการในการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในอนาคตขององค์การเพื่อให้เป็นแนวทางในการหาวิธีดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ 1) จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคต 2) จะต้องเป็นการกระทำ และ 3) จะต้องเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจนสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้นการวางแผนจึงเป็นกระบวนการ วิเคราะห์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันเข้ากับอนาคตด้วยการพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์และการเลือกแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เรียกว่ากลยุทธ์ ส่วนแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงานระหว่างทางเลือกทั้งหลาย เรียกว่านโยบาย ดังนั้นกลยุทธ์และนโยบายจึงเป็นแผนระยะยาวขององค์การที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ความหมายและความสำคัญของนโยบาย
วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553
Rahm Emanuel คือใคร มีบทบาทอะไรในคณะรัฐมนตรีของ Obama
Gen. Stanley McChrystal คือใคร มีบทบาทในสงครามอัฟกานิสถานอย่างไร
Stanley A। McChrystal, เมื่อเกิด 14 สิงหาคม 1954 เป็นปัจจุบันบัญชาการ, International Security Assistance Force(ISA F) และผู้บัญชาการ, สหรัฐอเมริกาไพร่พลอัฟกานิสถาน (USFOR-A). ก่อนหน้านี้เขาทำหน้าที่เป็น ผู้อำนวยการร่วมเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008 ถึงมิถุนายน 2009 และเป็นผู้บัญชาการ, Joint Special Operations Command 2003-2008 ซึ่งเขาถูกบันทึกเครดิตกับการตายของ ผู้นำของ Al-Qaeda ในอิรัก สำหรับบทบาทของเขา การกระทำของเขาในอิรักและอัฟกานิสถาน
สำหรับบทบาทในสงครามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบัน มีรายงานข่าวไว้ว่า
รายงานการประเมินสงครามในอัฟกานิสถาน ที่จัดทำโดย พล।อ।สแตนลีย์ แมคคริสตัล ผู้บังคับบัญชาทหารระดับสูงที่สุดของสหรัฐฯในสมรภูมิแห่งนั้น เกิด รั่วไหล ออกมา โดยเห็นได้ชัดเจนว่านี่เป็นความพยายามเพื่อที่จะบีบบังคับให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต้องยินยอมเห็นพ้องที่จะเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯให้อีกเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวนี้ก็ทำให้เราได้ทราบด้วยเช่นกัน ถึงภาพของสถานการณ์ที่ชวนให้หดหู่อย่างยิ่ง มิหนำซ้ำในรายงานอีกฉบับหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า แผนการต่อสู้แบบบูรณาการฝ่ายพลเรือน-ทหาร ที่แมคคริสตัลเพิ่งลงนามเห็นชอบด้วยเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านั้น ก็มีเสนอภาพซึ่งมองสภาพการณ์อย่างเลวร้ายยิ่งเสียกว่ารายงานชิ้นหลังนี้อีกวอชิงตัน รายงาน การประเมินเบื้องต้น (initial assessment) ว่าด้วยสงครามในอัฟกานิสถาน ที่จัดทำโดย พล।อ।สแตนลีย์ เอ แมคคริสตัล (Stanley A McChrystal) ผู้บังคับบัญชาทหารระดับสูงสุดของสงครามครั้งนี้ ได้กล่าวเตือนอย่างตรงไปตรงมาว่า ความล้มเหลวจากการไม่จัดหาทรัพยากรมาให้อย่างเพียงพอ น่าที่จะส่งผลไปถึงขั้นกลายเป็น ความล้มเหลวของภารกิจคราวนี้ ขณะเดียวกัน การที่รายงานฉบับนี้เกิด รั่วไหล ออกมานั้น ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะบีบคั้นกดดันประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้ยังมีท่าทีลังเล ให้ยอมตกลงเห็นพ้องที่จะเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯให้อีกในจำนวนที่มากมายพอสมควรรายงานการประเมินของแมคคริสตัลถือเป็นรายงานลับ แต่ก็ไปตีพิมพ์อยู่บนเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อวันจันทร์(21) จากเวอร์ชั่นที่ปรากฏบนเว็บไซต์ดังกล่าวนี้ มีร่องรอยของการปรับปรุงเรียบเรียงใหม่จำนวนมาก ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าได้ถูกเตรียมการไว้เป็นพิเศษเพื่อวัตถุประสงค์ในกรณีที่มันรั่วไหลไปถึงสื่อมวลชนอย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจะมีความสำคัญยิ่งกว่าเรื่องรั่วไหลเสียอีก ก็คือการประเมินของแมคคริสตัลนั้นได้เสนอภาพของสถานการณ์ในอัฟกานิสถานที่ทำให้รู้สึกหดหู่เป็นอย่างมาก
ยิ่งกว่านั้น หากลองนำเอาเอกสาร แผนการต่อสู้ในอัฟกานิสถานแบบบูรณาการฝ่ายพลเรือน-ทหาร (Integrated Civilian-Military Campaign Plan) ซึ่งแมคคริสตัลเองก็ให้ความเห็นชอบด้วยเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนหน้านั้น มาพิจารณาประกอบกัน ก็จะยิ่งพบว่าเอกสารที่กล่าวถึงชิ้นหลังนี้ มองสภาพการณ์ในแง่เลวร้ายยิ่งกว่า การประเมินเบื้องต้น ของเขาเสียอีกแผนการต่อสู้ในอัฟกานิสถานแบบบูรณาการฯ ซึ่งลงนามโดย แมคคริสตัล และ คาร์ล ไอเคนเบอร์รี (Karl Eikenberry) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ระบุว่า ในพื้นที่ซึ่งเป็นเขตชาวปาชตุน (Pashtun) อันเป็นชนชาติส่วนใหญ่ที่สุดของอัฟกานิสถานนั้น สภาพที่ประชาชนปฏิเสธไม่ยอมรับรัฐบาลอัฟกันเป็นสิ่งที่เห็นชัดเจนมาก จนกระทั่ง กลุ่มหลักๆ ทั้งหลายต่างกำลังให้การสนับสนุนพวกตอลิบาน เนื่องจากเห็นว่าเป็นทางเลือกอื่นอีกเพียงทางเดียวที่มีอยู่ นอกเหนือจากรัฐบาลในกรุงคาบูลซึ่งพวกเขาเห็นว่าควรแก่การดูหมิ่นเหยียดหยามเอกสารแผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯ ประทับตราจัดชั้นความลับไว้ว่า อ่อนไหวแต่ไม่ถือเป็นความลับ และไม่ได้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ทว่าสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิสก็ได้มาฉบับหนึ่งทั้งรายงานการประเมินเบื้องต้น และแผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯ ต่างยอมรับความเป็นจริงขั้นพื้นฐานต่างๆ ทางสังคม-การเมือง ซึ่งทำให้ต้องตั้งคำถามฉกรรจ์ๆ ขึ้นมาว่า แผนการต่อต้านการก่อความไม่สงบที่แมคคริสตัลสรุปคร่าวๆ เอาไว้ในรายงานการประเมินเบื้องต้นของเขานั้น หากมีการนำไปปฏิบัติแล้วจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพียงแต่ว่าในรายงานการประเมินเบื้องต้นนั้น เขาได้เปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ลดทอนน้ำหนักของข้อสรุปที่เป็นหัวใจบางประเด็นที่ปรากฏอยู่ในแผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯข้อแตกต่างกันที่สำคัญที่สุดระหว่างเอกสารทั้งสอง ได้แก่ข้อสรุปในเรื่องที่ว่าพวกผู้ก่อความไม่สงบได้รับความสนับสนุนจากประชาชนมากน้อยขนาดไหนแล้ว รายงานการประเมินของแมคคริสตัลเสนอว่า พวกผู้ก่อความไม่สงบยังไม่อาจหาความสนับสนุนจากประชาชนอย่างชนิดเต็มอกเต็มใจไม่ถูกบังคับได้พวกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มใหญ่ๆ ต่างใช้ความรุนแรง, การบังคับกะเกณฑ์, และการข่มขู่คุกคามต่อพลเรือน มาควบคุมประชากร รายงานการประเมินระบุเอาไว้เช่นนี้ อีกทั้งยังสรุปเอาไว้ว่า ความกระตือรือร้นของประชาชน ที่มีต่อพวกตอลิบานและกลุ่มก่อความไม่สงบอื่นๆ ดูจะอยู่ในสภาพที่จำกัด เช่นเดียวกับความสามารถของกลุ่มเหล่านี้ที่จะแพร่ขยายไปนอกพื้นที่ของชาวปาชตุนในทางเป็นจริงแล้ว ชาวปาชตุนมีจำนวนเท่ากับประมาณ 40-45% ของประชากรชาวอัฟกันทั้งหมด และตามพื้นที่ส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถาน ตั้งแต่ฟากตะวันตกไกลโพ้น ข้ามไปทั่วทั้งภาคใต้ ไปจนจรดภาคตะวันออก ชาวปาชตุนก็เป็นชนชาติที่มีจำนวนมากกว่าชนชาติอื่นๆ ทั้งสิ้นอย่างไรก็ตาม แม้ปฏิเสธว่าประชาชนไม่ได้ให้การสนับสนุนพวกผู้ก่อความไม่สงบ แต่แมคคริสตัลก็ยอมรับเอาไว้ในรายงานการประเมินว่า มีปัจจัยบางประการ เป็นต้นว่า ความไม่พึงพอใจตามธรรมชาติเมื่อต้องถูกต่างชาติเข้ามาแทรกแซง ตลอดจนอัตลักษณ์แห่งความเป็นเผ่าและความเป็นชนชาติ ซึ่งได้รับการหนุนส่งให้แข็งแกร่งขึ้นอีกจาก ความเจ็บปวดทางประวัติศาสตร์ จึงได้ส่งผลทำให้ มีหลายๆ ส่วนในหมู่ประชาชน ที่สามารถอดทนยอมรับการก่อความไม่สงบ และเรียกร้องให้ขับไล่คนต่างชาติออกไปขณะที่แผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯไปไกลกว่านั้น โดยเสนอว่า พวกตอลิบานกำลังได้รับความสนับสนุนจากประชาชนชาวอัฟกัน เพราะประชาชนมองว่า ถ้าหากไม่ยอมรับรัฐบาลในกรุงคาบูลที่ควรแก่การดูหมิ่นเหยียดหยามแล้ว หนทางเลือกที่เหลืออยู่อีกเพียงหนทางเดียวก็คือพวกตอลิบาน เอกสารนี้ชี้ว่า ชาวอัฟกันส่วนใหญ่นั้นปฏิเสธไม่ยอมรับ อุดมการณ์ตอลิบาน แต่ก็สรุปว่า กลุ่มชาวอัฟกันกลุ่มสำคัญๆ ต่างกำลังหวนระลึกถึงความมั่นคงปลอดภัยและความยุติธรรม ซึ่งในสมัยที่ตอลิบานปกครองอยู่ สามารถจัดหาเอื้ออำนวยให้บังเกิดขึ้นได้เอกสารทั้งสองฉบับยังใช้วลีที่แตกต่างกันในการบรรยายถึงความล้มเหลวทางการเมืองของรัฐบาลอัฟกันตลอดจนผลพวงที่เกิดตามมา
โดยรายงานการประเมินของแมคคริสตัลพูดถึง วิกฤตแห่งความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล แต่แผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า เป็น วิกฤตแห่งความถูกต้องชอบธรรม และกล่าวอีกว่า พวกผู้ก่อความไม่สงบประสบความสำเร็จในการ สร้างความถูกต้องชอบธรรมให้แก่ตนเองในบางระดับ โดยอาศัยมนตร์เสน่ห์ของความใกล้ชิดกันเชิงอุดมการณ์ และความกลัวเรื่อง การยึดครองของต่างชาติ ตลอดจนการเอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรมในระดับท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็วเอกสารทั้งสองฉบับยังแตกต่างกันในเรื่องที่ว่า หากนำเอาแนวทางต่างๆ ที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลง ตามที่ได้กล่าวสรุปเอาไว้ในแผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯ มาปฏิบัติกันอย่างจริงจังแล้ว จะสามารถคาดหวังความคืบหน้าได้แค่ไหนรายงานการประเมินของแมคคริสตัล กระทำเพียงแค่เสนอยุทธศาสตร์กว้างๆ รวมทั้งวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่จะต้องบรรลุ หากต้องการทำให้เกิดความมั่นคงปลอดภัย, การเพิ่มกองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐบาลอัฟกัน, และการปฏิรูปในเรื่องธรรมาภิบาล แต่รายงานนี้ไม่ได้มีการพิจารณาในแง่ที่ว่า วัตถุประสงค์ต่างๆ เหล่านี้นั้น มีความเสี่ยงหรือความเป็นไปได้ที่จะล้มเหลวไม่บังเกิดผลผิดกับแผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯ ซึ่งมีการพิจารณาแง่มุมของความเสี่ยงและความเป็นไปได้ที่อาจจะล้มเหลวไม่ประสบผล ตัวอย่างเช่น แผนการนี้มีการระบุเรื่องเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นทุจริตฉ้อฉล และถือว่าการลงโทษคนเหล่านี้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนเหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์ลำดับสำคัญยิ่งประการหนึ่งแต่แผนการนี้ก็เตือนเอาไว้ด้วยว่า รัฐบาลอัฟกันตลอดจนพวกพันธมิตรที่เป็นขุนศึกตามจังหวัดต่างๆ ของรัฐบาลนี้ ต่างก็เป็นพวกที่จะไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริงอะไรหากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม แถมยังอาจจะได้รับความผิดหวังจากความพยายามที่จะดำเนินการปฏิรูปดังกล่าวเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น แผนการต่อสู้เพื่อบูรณาการฯ จึงมีการเสนอความคิดเห็นถึงขนาดบอกกระทั่งว่า ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ อาจจะ เปลี่ยนตัวเอาพวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลที่ทรงประสิทธิภาพออกไปเป็นจำนวนมาก แล้วนำเอาคนที่ไร้ประสิทธิภาพหรือที่ทุจริตฉ้อฉลมาแทนที่นอกจากนั้น แผนการนี้ยังพูดถึงความเป็นไปได้ที่ว่า ถ้าหากความหวังในการลดการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลอัฟกันมีอันสิ้นสลายไปอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะก่อให้เกิด ปฏิกิริยาสะท้อนกลับอย่างฉับพลันรุนแรง ต่อ กองกำลังระหว่างประเทศช่วยเหลือการรักษาความมั่นคง (International Security Assistance Force หรือ ISAF อันเป็นชื่อที่เป็นทางการของกองกำลังนานาชาติที่นำโดยนาโต้ในอัฟกานิสถาน)ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่แผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯคาดการณ์เอาไว้ ก็คือ การเลือกตั้งประธานาธิบดีอัฟกานิสถานในวันที่ 20 สิงหาคม จะ ถูกมองกันอย่างกว้างขวางว่าไม่ยุติธรรม และจะนำไปสู่ วิกฤตทางการเมือง และ/หรือเพิ่มความรับรู้ความเข้าใจที่ว่า GIRoA [Government of the Islamic Republic of Afghanistan รัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามแห่งอัฟกานิสถาน ซึ่งปัจจุบันก็คือรัฐบาลของประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ] นั้นไร้ความถูกต้องชอบธรรม ทั้งนี้รายงานข่าวต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาในช่วง 1 เดือนนับตั้งแต่การเลือกตั้งคราวนั้นผ่านพ้นไป บ่งชี้ให้เห็นว่าการคาดหมายดังกล่าวนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากทีเดียวแต่ถึงแม้การประเมินของแมคคริสตัลจะมีการยั้งหมัดเอาไว้อย่างชัดเจนในประเด็นปัญหาหลักๆ บางประเด็น มันก็ยังคงบรรจุเอาไว้ด้วยการใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมาอย่างเตะตายิ่ง เมื่อคำนึงว่านี่เป็นเอกสารของทางการ ทั้งนี้ยังไม่ต้องเอ่ยว่ามันยังเป็นเอกสารที่ผู้เขียนมีเจตนารมณ์มุ่งสร้างความชอบธรรมให้แก่การเพิ่มระดับของการทำสงครามแมคคริสตัลยอมรับปัญหาเรื่องขุนศึก (โดยเรียกพวกเขาว่าเป็น นายหน้าค้าอำนาจในระดับท้องถิ่นและระดับภาค) ซึ่งมีความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อรัฐบาล แถมยังมีขุนศึกบางรายที่มีตำแหน่งอยู่ในกองกำลังความมั่นคงแห่งชาติของอัฟกานิสถานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติอัฟกานิสถานเขายังเอ่ยถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ไอเอสเอเอฟ ก็มี ความสัมพันธ์ กับพวกขุนศึก โดยบอกว่าหน่วยทหารต่างชาติต่างๆ มีการติดต่อกับคนเหล่านี้ในหลายๆ ด้าน ทั้งเพื่อขอบริการด้านความมั่นคงปลอดภัย ตลอดจนต้องพึ่งพาอาศัยคนเหล่านี้อย่างมากๆ ในด้านข่าวกรองแมคคริสตัลตั้งข้อสังเกตว่า ความสัมพันธ์เหล่านี้ สามารถที่จะกลายเป็นปัญหาขึ้นมา เขายกตัวอย่างของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ประการหนึ่งก็คือ สาธารณชนชาวอัฟกันจะรับรู้เข้าใจไอเอสเอเอฟว่าเป็น ผู้สมรู้ร่วมคิด กับการใช้อำนาจในทางมิชอบของทางการอัฟกานิสถานการที่รายงานการประเมินของแมคคริสตัลและแผนการต่อสู้แบบบูรณาการฯ ต่างพูดถึงเงื่อนไขพื้นฐานต่างๆ ทางด้านสังคม-การเมือง ที่จะส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสงครามต่อต้านการก่อความไม่สงบเอาไว้ อย่างยอมรับความเป็นจริงกันมากมายถึงระดับนี้ ต้องถือว่านี่คือสิ่งที่ผิดปกติเป็นอย่างมากในการวางนโยบายการทหารของสหรัฐฯ หากไม่ถึงขั้นที่เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ขณะเดียวกัน มันก็ดูเหมือนจะช่วยเร่งให้เกิดภาวะวิกฤตขึ้นในการกำหนดนโยบายอัฟกานิสถานของสหรัฐฯนอกเหนือจากการโกงการเลือกตั้งอย่างโจ๋งครึ่มของระบอบปกครองคาร์ไซ และการที่ความสนับสนุนทางการเมืองภายในสหรัฐฯต่อสงครามในอัฟกานิสถานได้ลดต่ำฮวบฮาบลงอย่างรวดเร็วแล้ว ปัญหาอุปสรรคระดับพื้นฐานที่จะขัดขวางความสำเร็จในอัฟกานิสถานซึ่งมีการอภิปรายอย่างตรงไปตรงในเอกสารทั้ง 2 ชิ้นดังกล่าวนี้ ก็น่าจะมีส่วนเช่นกันที่ทำให้โอบามาเกิดความสงสัยข้องใจขึ้นมาเกี่ยวกับคำขอทหารเพิ่มเติมของแมคคริสตัลดังนั้น เอกสารทั้ง 2 ก็ได้สร้างคุณูปการทำให้โอบามาตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะรัฐบาลผู้หนึ่งเรียกว่า การทบทวนทางเลือกทุกๆ อย่างด้วยความเคร่งเครียดจริงจังเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้ตามรายงานข่าวของ ราจิฟ จันทราเซการัน (Rajiv Chandrasekaran) และ แคเรน เดอยัง (Karen DeYoung) ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ฉบับวันจันทร์(21)แกเรธ พอร์เตอร์ เป็นนักประวัติศาสตร์และนักหนังสือพิมพ์เชิงสืบสวน ที่เชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ หนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่ชื่อ Perils of Dominance: Imbalance of Power and the Road to War in Vietnam ฉบับปกอ่อนได้รับการตีพิมพ์ในปี २००६
ที่มา : (สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)