วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

วัตถุประสงค์และมาตรการด้านความเป็นนานาชาติในแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 8

วัตถุประสงค์และมาตรการด้านความเป็นนานาชาติในแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 10 ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาไว้ 6 ประการ เช่นเดียวกับที่มีการกำหนดเป้าหมายและมาตรการรองรับไว้ 6 ประการด้วย เพื่อความสอดคล้องในการนำแผนไปปฏิบัติ วัตถุประสงค์ด้านความเป็นนานาชาติหรือความเป็นสากลนั้นถูกกำหนดไว้เป็นข้อที่ 5 ดังมีรายละเอียดกล่าวไว้ดังนี้ คือ (Internationalization Regionalization) 1. มุ่งยกระดับมาตรฐานและความสามารถของมหาวิทยาลัย/สถาบันให้มีมาตรฐานสากล ทั้งในเชิงวิชาการและการบริหารมหาวิทยาลัยรวมทั้งการสนับสนุนการสร้างความสัมพันธ์ให้มหาวิทยาลัย/สถาบันเข้าไปมีบทบาททางวิชาการในเวทีนานาชาติและการสร้างเสริมให้อาจารย์และบัณฑิตไทยมีสมรรถนะสากล เจตคติ โลกทัศน์และชีวทัศน์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมดนั้น ตลอดจนสามารถจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากล อย่างมีคุณภาพให้กับนักศึกษาจากต่างประเทศ 2. มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้มหาวิทยาลัย/สถาบันไทยเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาระดับ ภูมิภาคมากขึ้น อุดมศึกษาไทยจะต้องเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้นำระดับภูมิภาคได้และสามารถสร้างองค์ความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างความเข้มแข็งในศิลปวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมไทย มาตรการด้านความเป็นนานาชาติที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในแผนพัฒนา จากวัตถุประสงค์ข้างต้น ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ และมาตรการย่อยที่สอดคล้องกัน เพื่อความสามารถที่จะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ต่อไปนี้ คือ (สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย, 2541: 26-28) วัตถุประสงค์ 5.1 ยกมาตรฐานการอุดมศึกษาไทยมีความเป็นสากล กลยุทธ์ 1 พัฒนาบุคลลากรของประเทศไทยให้มีภูมิความรู้และเทคโนโลยีเพื่อ เป็นฐานสำหรับการแข่งขันในประชาคมโลก กลยุทธ์ 2 ให้มีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาให้ได้ มาตรฐานเทียบเคียงกับต่างประเทศ กลยุทธ์ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาโดยเฉพาะเทคโนโลยี สารสนเทศและภาษาต่างประเทศให้สามารถรองรับการพัฒนาไปสู่ ความเป็นสากล วัตถุประสงค์ 5.2 พัฒนากำลังคน ของไทยมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและมีศักยภาพเพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่และแข่งขันได้ในประชาคมโลก กลยุทธ์ 1 จัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อความเป็นสากล กลยุทธ์ 2 ส่งเสริมความร่วมมือและเครือข่ายการเรียนรู้จากต่างประเทศเพื่อ ให้เป็นอาจารย์ได้พัฒนาตนเองให้ทันกับความก้าวหน้าทางวิชาการ กลยุทธ์ 3 สร้างความตระหนักให้แก่นักศึกษาและบุคลากรถึงคุณค่าวัฒนธรรม ไทย และให้มีโลกทัศน์สากลเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างชาติ ต่างภาษา เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับนานาประเทศ กลยุทธ์ 4 สนับสนุนภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยให้สามารถ พัฒนาระบบการบริหารมหาวิทยาลัยและการบริหารวิชาการในระดับ มาตรฐานสากล วัตถุประสงค์ 5.3 ริเริ่มบทบาทความเป็นผู้นำประชาคมภูมิภาคด้วยความเป็นเลิศแห่งองค์ความรู้ทางวิชาการ กลยุทธ์ 1 พัฒนาองค์ความรู้ที่ประเทศไทยมีแต่ประเทศอื่นไม่มีให้มีความเป็นเลิศนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาคมโลก กลยุทธ์ 2 สนับสนุนมหาวิทยาลัย/สถาบัน ให้สร้างความเป็นเลิศทาง วิชาการในเรื่องที่มหาวิทยาลัย/สถาบันนั้นๆ สนใจ/สำนึก และมี ศักยภาพเพียงพอ และพัฒนาความเป็นเลิศให้อยู่ในระดับผู้นำของโลก กลยุทธ์ 3 สนันสนุนการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่แตกต่าง ไปจากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อแสวงหาทิศทาง แนวทาง แนวความคิดใหม่ๆ ช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น