วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

แบบเสนอเอกสารเชิงหลักการ (Concept Paper) สำหรับการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก สาขาความเป็นผู้นำและบริหารการศึกษา ของ นางสาวประภาพร บุญปลอด รหัสประจำตัว 49477040109 โดยคาดว่าจะเรียนเชิญอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก/อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดังต่อไปนี้ 1. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รศ.ดร. ประกอบ คุปรัตน์ 2. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม - 3. อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมภายนอก - 1. ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย : ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ ภาษาอังกฤษ : A PROPOSAL POLICY FOR MANAGEMENT SURINDRA RAJBHAT UNIVERSITY TO INTERNATIONAL UNIVERSITY. 2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในยุคขอมูลขาวสารที่ความกาวหนาทางเทคโนโลยีและการเปดเสรีทางการคาและการลงทุนระหวางประเทศ ไดเขามามีบทบาทในการขับเคลื่อนกระแสการพัฒนาประเทศเปนตนมารัฐบาลหลายประเทศไดตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษาระดับสูงและสงเสริมใหนักศึกษามีการศึกษาในสถาบันการศึกษาในตางประเทศมากขึ้น เพื่อขยายโลกทัศนใหนักศึกษามีความเขาใจถึงวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงมีความสามารถในการสื่อสารไดหลายภาษาและเขาใจรูปแบบในการดําเนินธุรกิจขามพรมแดนอยางลึกซึ้ง ซึ่งจากสถิติของ OECD, British Councilและ IDP Education Australia ไดชี้ใหเห็นถึงแนวโนมและโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีของการศึกษานานาชาติ โดยประมาณการวาจํานวนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เดินทางออกไปศึกษาตอในตางประเทศจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นจาก 2.12 ลานคน ในป 2546 เปน 8 ลานคน ในป 2568 หรือเพิ่มขึ้นอีก 3 เทาตัวในระยะ 20 ป ขางหนา ทั้งนี้ประเทศไทยสนใจในการพัฒนาเพื่อเสริมสรางศักยภาพและขีดความสามารถในการใหบริการดานการศึกษาระดับอุดมศึกษานานาชาติ ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งจะชวยพัฒนาศักยภาพของการใหบริการดาน การศึกษานานาชาติ เพื่อพรอมรับการเปดเสรีตามขอตกลงทั่วไป วาดวยการคาบริการ (General Agreement on Trade in Services: GATS) และจะชวยพัฒนาและเสริมสรางบทบาทของประเทศในการเปนศูนยกลางทางการศึกษาในระดับอนุภูมิภาคและระดับภูมิภาครวมทั้งกอใหเกิดประโยชนโดยตรงตอภาคการผลิตของประเทศทั่วทั้งประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการยุทธศาสตรหลัก ที่จะสามารถดําเนินกิจกรรมที่เปดกวางและเชื่อมโยงเป็นเครือขายกับสาขาการผลิตในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระดับภูมิภาคและตลาดโลกไดอยางมีประสิทธิภาพ มิติของความเปนนานาชาติในบริบทของการศึกษาที่เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกฐานะจากสถาบันราชภัฎ ที่สังกัดอยู่ในสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งมีสถานภาพเหมือนกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ในประเทศไทยทุกประการ คำว่าราชภัฏอันเป็นส่วนหนึ่งของคำประสมในคำว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความหมายว่า ผู้อันพระราชาทรงเลี้ยง หรือมีความหมายว่า คนของพระราชา โดยเป็นคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัยและได้โปรดเกล้าพร้อมทั้งพระราชทานตราประจำพระองค์ให้เป็นตราประจำสถาบันจึงอาจกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 41 แห่ง เป็น โพธิยาลัย มหาวิทยาลัยหรือเป็นสถานอบรมสั่งสอนให้เบ็ดเสร็จ ช่วยกอบกู้บ้านเมืองให้หลุดพ้นจากโมหภูมิ ดังนั้น ภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏจึงมุ่งที่จะจัดการศึกษาให้บังเกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยต้องค้นหาและยึดความคิดและทฤษฏีใหม่ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ดังที่พระองค์ท่านได้มีพระราชดำรัสไว้ว่า การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยวัตถุประสงค์ที่แท้จริงคือ การสร้างสรรค์ความรู้ความคิด พร้อมทั้งคุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลเพื่อให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ย่างมั่นคงและราบรื่น ทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์สุข เพื่อตนเพื่อส่วนรวม ตามสมควรแก่อัตภาพ ผู้ทำหน้าที่ด้านการศึกษาทุกฝ่าย ทุกระดับควรจะมุ่งทำงานเพื่อวัตถุประสงค์นี้ยิ่งกว่าสิ่งอื่น (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2545, หน้า 12) เพื่อสนองพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้ดำเนินการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยยึดหลักการสำคัญในอันที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสนองพระราชดำริในการนำทฤษฏีใหม่มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศนั้น ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน และมีการบำรุงรักษา รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของแผ่นดินอย่างสมดุลและยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การกำหนดภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยซึ่งก่อนที่จะปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และได้ใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏเมื่อปี พ.ศ. 2547 นั้น ได้มีรากฐานของพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูและพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏมาก่อน กล่าวคือในส่วนของพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูมีภารกิจ โดยให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพครูและวิทยฐานะครู อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงวัฒนธรรมและให้บริการวิชาการแก่สังคม (กรมการฝึกหัดครู, 2534, หน้า 1) และพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏมีภารกิจคือ ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู (กองการฝึกหัดครู, 2540, หน้า 2) ตามลำดับ จนปัจจุบันนี้สถาบันราชภัฏได้เปลี่ยนสถานภาพมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยบริหารมหาวิทยาลัย ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 คือให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การทำนุบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู (พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ, 2547, หน้า 2) การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อก้าวไปสูความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาตินอกจากกำหนดเป็นวิสัยทัศน์หรือแนวคิดในการมองการณ์ไกลแล้ว แนวคิดในการมองภาพอนาคตนั้นจะต้องนำมากำหนดให้เป็นภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) ซึ่งจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ที่กำหนดภารกิจหรือพันธกิจไว้ สรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องมุ่งบริหารจัดการศึกษามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถมีความเป็นเลิศโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจำเป็นต้องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยการเผยแพร่ความรู้และบริการสังคมด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งจะกระทำควบคู่กับการบริหารจัดการด้านบริการทางวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏมีพันธกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่ การผลิตครู วิทยะฐานะครูและพัฒนาทุกวิถีทางที่จะยกฐานะครูให้มีผลงานทางวิชาการ มีผลงานสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและจริยธรรมและดำรงตนอยู่ในฐานะปูชนียบุคคลที่สำคัญ การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏ หากได้ดำเนินการบริหารที่ไร้ทิศทาง ไร้วิสัยทัศน์และไม่มีการนำวิสัยทัศน์มากำหนดภารกิจหรือพันธกิจ กำหนดเป็นวัตถุประสงค์เพื่อนำไปจัดทำกรอบการวางแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนา และแผนปฏิบัติการแล้ว ก็จะก่อให้เกิดสภาพปัญหาในการบริหารจัดการ ทำให้การบริหารจัดการเกิดภาวะชะงักงัน ทำให้การผลิตบัณฑิตไม่เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ หรือกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการว่า ต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างไรซึ่งเมื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนแล้ว การบริหารจัดการย่อมจะก่อให้เกิดศักยภาพในการบริหาร และนำไปสู่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่ตั้งไว้ จากการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งเป็นภาพการบริหารจัดการอันจะเกิดในอนาคต ซึ่งถ้าหากได้มีการบริหารจัดการตามผลการวิจัยที่จะเกิดขึ้นมานี้แล้ว จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินไปในแนวทางที่มีการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง นอกจากนี้แล้วผู้วิจัยมีความสนใจที่ และสงสัยว่าวิธีการบริหารจัดการ ของอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ทีมบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีบทบาทมาก ต่อระดับความสำเร็จของการบริหาร ซึ่งปัจจุบันฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้แล้วและได้กำหนดภารกิจให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ และถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ต้องปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จควรทำอย่างไร ควรจะเป็นรูปแบบอย่างไร จะใช้ทรัพยากรทางการบริหารที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานบุคคล งบประมาณ การบริหารงานทั่วไปและการบริหารงานวิชาการจะบริหารจัดการอย่างไรจึงจะทำให้การบริหารประสบผลสำเร็จ และถ้าได้ศึกษาความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถาบันราชภัฏเดิม ซึ่งปัจจุบันเป็นอธิการบดีที่ประสบความสำเร็จ น่าจะนำไปสู่การคิด การสังเคราะห์ การพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัย ราชภัฏภายใต้กฎหมายใหม่ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติได้สำเร็จ เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลควรเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อการประสบความสำเร็จเพื่อการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติที่มั่นคงและยั่งยืนสืบไป 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ ในองค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ (เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัด ของการบริหารทั้งโดยภาพรวมและในด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป 4. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.1 คะนึง สายแก้ว. –ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยในจังหวัด สุรินทร์ 2549. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4.2 จรัส สุวรรณเวลา. 2540. บนเส้นทางอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4.3 ชาญชัย อาจิณสมาจาร. 2540. บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ 4.4 ไชยยา ภาวะบุตร. –ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2549. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4.5 ทองคูณ หงส์พันธ์. 2542.แนวทางการสร้างสรรค์สถาบันราชภัฏ . อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบล 4.6 พิกุล ภูมิโคกรักษ์. 2550,4.1 รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา 4.7 พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 2544. ร่างข้อเสนอนโยบายและแผนการปฏิรูปการผลิตและการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 4.8 พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. 2544. รายงานการวิจัยเรื่องภาวะวิกฤติและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะคุรุศาสตร์ เพื่อปฏิรูปการศึกษาในแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 9 (พ.ศ.2545-2554). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 4.9 พิธาน พื้นทอง. –ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2548. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4.10 ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2550. การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 12.13 ไพบูลย์ เปานิล. –การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการศึกษาสถาบันราชภัฏ. 2546. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร 12.14 วิจิตร ศรีสอ้าน. 2550. การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5. ขอบเขตและประเด็นของการวิจัย การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ มีขอบเขตการวิจัย ดังนี้ 5।1 การกำหนดขอบเขตของข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และตัวชี้วัดของการบริหาร 5.2 การกำหนดขอบเขตของเนื้อหา กำหนดตามแนวการปฏิรูประบบบริหารการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จัดให้มีระบบโครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการศึกษาที่มีเอกภาพเชิงนโยบาย มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจทางการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา 4 ด้าน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารการเงินและงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาเพื่อการศึกษาใน 4 ด้าน ดังกล่าว และได้เพิ่มการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์อีกหนึ่งด้านด้วย โดยแต่ละด้านเป็นปัญหาเร่งด่วนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งจะต้องหาแนวทางปรับปรุงเพื่อนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้อย่างมีรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติต่อไป 6. วิธีดำเนินการวิจัย 6.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญมีประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการทั่วไป การบริหารวิชาการ การบริหารการวิจัย การบริหารการเงินและงบประมาณ และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับกลางของทั้งหมด ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ สำนัก หรือเทียบเท่า กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 8 คน 2. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามถามความคิดเห็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีต่อข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาจากความนิยมของนักศึกษาที่สมัครสอบในแต่ละปีและจำนวนอาจารย์ผู้สอน และพิจารณาขนาดของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก คือมหาวิทยาลัยราชภัฏในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค ดังนั้น จึงได้จำนวนผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นตัวแทน เลือกมาได้ 5 แห่ง จำนวนผู้บริหารทั้งสิ้นจำนวน 98 คน 6.2 เครื่องมือ การวิจัยครั้งนี้เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology Approach) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methodology Approach) เข้าด้วยกันในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ 6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการตอบแบบสอบถามเพื่อการวิจัย และได้ประสานงานกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ต้องการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์สำหรับการวิจัยต่อไป โดยผู้วิจัยได้ส่งและจัดเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง 6.4 การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวทางของ (Best & Kahn, pp. 246-250) 7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ในอนาคต ในประเด็นที่สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ และเพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่เป็นรูปธรรม ที่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องของรูปแบบการพิมพ์ ต้องดูให้มีการเว้นวรรค มี Space ระหว่าง Paragraph ให้ชัดเจน มีฉะนั้นเนื้อความจะกระจุกรวมกัน ยากแก่การอ่าน และทำให้ไม่มีการเน้น

    ควรให้มีเว้นบรรทัดระหว่าง Paragraph ต่อ Paragraph เว้นไว้สัก 12 Points ทั้งบนและล่าง ส่วนตัวอักษรให้เป็นขนาด 12 Tahoma หรือเทียบเท่า เพื่อทั้งนี้เมื่อดูงานผ่านทางระบบ PDA อย่าง iPhone จะมองเห็นตัวอักษรไม่ชัดเจน หากเล็กเกินไป

    ขอให้พยายามต่อไปครับ

    ตอบลบ