วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

การส่งเสริมการศึกษานานาชาติในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย

การส่งเสริมการศึกษานานาชาติในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ประเทศไทยมีความสำคัญของความเป็นสากลของการอุดมศึกษามีชัดเจนในนโยบายความเป็นนานาชาติของอุดมศึกษาในไทยนั้น เริ่มต้นอย่างชัดเจนในช่วงการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 ขึ้น โดยมีการเตรียมการที่จะพัฒนาความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย ทั้งการกำหนดในแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว (พ.ศ. 2533-2542) การกำหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และการสร้างความเข้าใจผ่านประชุมสัมมนาระดับชาติด้วยในเวลาเดียวกัน จากแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว (พ.ศ. 2533-2547) นั้น มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาความเป็นสากล ได้แก่ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2541: 340-343) 1) ในด้านการสอน กำหนดแนวทางส่งเสริมการศึกษานานาชาติ หลักสูตรไทยศึกษา การเรียนการสอนภาษา การพัฒนาทักษะสากล เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และภาษา 2) ในด้านการวิจัย กำหนดให้พัฒนาวิชาการไปสู่ความเป็นเลิศในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ 3) ในด้านการบริการวิชาการ กำหนดให้พัฒนารากฐานความร่วมมือด้านการบริการกับต่างประเทศ เช่น การตั้งองค์การบริการวิชาการบางประเภทร่วมกับบริษัทนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ 4) ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้กำหนดแนวทางให้ส่งเสริมการสงวนความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่ออยู่ร่วมกับประชาคมโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและสันติสุข จากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ได้กล่าวถึงนโยบายการส่งเสริมความเป็นสากลและมาตรการต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้ (ศรัณย์ เลิศรักษ์มงคล, 2543: 403-404) 1. ปรับปรุงระบบอุดมศึกษาไทยให้สามารถส่งเสริมบทบาทของประเทศที่เพิ่มขึ้นทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจในประชาคมโลก จากนโยบายดังกล่าวรัฐฯ จึงได้กำหนดให้มีมาตรการต่างๆ เข้ามารองรับ เช่นการสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อให้เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ในกลุ่มอาเซียน ประชาคมเอเชียและแปซิฟิก ประชาคมยุโรปจนถึงยุโรปตะวันออก ซึ่งครอบคลุมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านไทยคดี ศึกษาการจัดหลักสูตรนานาชาติที่ให้โอกาสคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเข้ามาศึกษา การขยายเครือข่ายความร่วมมือในการผลิตบัณฑิต การวิจัย การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และนักวิชาการ ขณะเดียวกันมีการมุ่งเน้นให้มีการส่งเสริมบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถในการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในเรื่องการส่งคณะผู้แทนไปเจรจาความร่วมมือการให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรม การสนับสนุนบุคคลากรอุดมศึกษาให้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศตลอดจนการสร้างบุคลากรดังกล่าวให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ 2. ให้มีการปรับปรุงสาระและรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีความเป็นมนุษย์มีโลกทัศน์กว้างมีความเข้าใจในมรดก และวัฒนธรรมไทยสามารถวิเคราะห์ด้วยเหตุผลและทักษะใหม่ที่จำเป็นยุคสารสนเทศ และการเพิ่มบทบาทของประเทศในประชาคมโลก จากนโยบายนี้รัฐฯจึงได้กำหนดมาตรการหลักไว้หลายประการ เช่น เน้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรชุดการเรียน หลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไปให้มีลักษณะของการเรียนด้วยตนเอง หรือการเรียนภายใต้คำแนะนำมากขึ้น การเน้นทักษะที่สำคัญด้านภาษาและการสื่อความหมาย การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศและการจัดการ จากข้อเสนอแนะจากการประชุมสัมมนาเรื่อง ความเป็นสากลของการอุดมศึกษาไทยที่จัดขึ้นโดยทบวงมหาวิทยาลัย ในระหว่าง 28-30 มกราคม 2543 ได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากกรณีดังกล่าวไว้หลายประการซึ่งสอดคล้องกับแผนข้างต้นสามารถสรุปได้ดังนี้(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2541: 343) • มหาวิทยาลัยไทยควรเป็นผู้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาความเป็นสากลในไทย • การพัฒนาความเป็นสากลของอุดมศึกษาควรเน้นที่การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ยังมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา การปฏิรูปเนื้อหาสาระและรูปแบบหลักสูตร การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ เพื่อสร้างโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานในมหาวิทยาลัย และสนับสนุนกิจการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนต่างๆ • ในระยะยาวควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทย โดยเฉพาะนักศึกษาทางด้านภาษาและสังคมมีโอกาสไปศึกษาระยะสั้นในต่างประเทศและเปิดโอกาสให้นักศึกษาต่างประเทศเข้ามาเรียนในประเทศไทยมากขึ้น • ควรมีการพัฒนามาตรฐานทางวิชาการระหว่างประเทศ การพัฒนาหลักสูตรที่มีการเรียนวิชาที่มีความเป็นสากลอย่างสม่ำเสมอ • ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในมหาวิทยาลัย เช่น หน่วยงานประสานงานด้านการศึกษานานาชาติ และระบบข้อมูลด้านการศึกษานานาชาติ • ควรทำความเข้าใจในระหว่างบุคคลากรของมหาวิทยาลัยให้เห็นความสำคัญและการยอมรับเป็นสากลของการอุดมศึกษา นโยบายความเป็นนานาชาติในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 8 ในช่วงของการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ที่อาศัยแนวทางการจากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ของทบวงมหาวิทยาลัยนั้นเป็นช่วงเดียวกับที่มีการระดมความคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ระยะยาวเรื่องความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย และแนวทางการพัฒนาความเป็นสากลเช่นกัน ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2541: 370) วิสัยทัศน์ ค.ศ. ในปีคริสตศักราช 2020 (พ.ศ. 2563) การอุดมศึกษาไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก จะมีลักษณะดังนี้ 1) จำนวนนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย ทั้งของรัฐและเอกชนทั้งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอื่นๆ จะมีนักศึกษาทั้งหมดประมาณร้อยละ 40 ของประชากรจำนวนวัยเรียนระดับอุดมศึกษาจำนวนนักศึกษานานาชาติจะมีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทรวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ประมาณ 10,000 คนต่อปี 2) นิสิตนักศึกษาไทยมีโลกทัศน์กว้างไกล สามารถเข้าใจและเห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะ ศิลปวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน มีความเคารพในสิทธิเสรีภาพ เอกราชและประชาธิปไตยของประเทศอื่น 3) บัณฑิตที่จบการศึกษาของไทย มีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การพัฒนา ความเข้าใจอันดีงาม ความมั่งคั่ง ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคและโลก 4) บัณฑิตไทยมีสมรรถภาพสากล (global competence) มีความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ ความสามารถในการปรับตัว มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศบัณฑิตสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือภาษาระหว่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และภาษาในภูมิภาค เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว เขมร มาเลย์ 5) มหาวิทยาลัยเปิดของไทยมีนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเข้ามาเรียน มากยิ่งขึ้นมหาวิทยาลัยเปิดเป็นแหล่งให้การศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญแก่เจ้าหน้าที่และแรงงานของไทยในต่างประเทศ 6) คณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีความสนใจใฝ่รู้และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยเช่น Internet ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และผลการค้นคว้าวิจัยกับนักวิชาการในต่างประเทศ คณาจารย์ไทยเข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการในแขนงวิชาของตนในระดับชาติปีละครั้ง ในระดับภูมิภาค 2 ปีต่อครั้ง และระดับนานาชาติ 3 ปีต่อครั้งเป็นอย่างน้อย 7) คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของไทย มีบทบาทสำคัญในการสร้างผลงานทางวิชาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งสมาคมเครือข่ายและชุมชนวิชาการและวิชาชีพในภูมิภาค 8) คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของไทยมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารต่างประเทศ คณาจารย์ของไทยได้รับการยกย่องในวงวิชาการระดับนานาชาติ 9) บัณฑิตศึกษาของไทยมีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีขีดความสามารถสูงในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และการผลิตกำลังคนระดับสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและภูมิภาคบัณฑิตของไทยมีศักยภาพในการเอื้ออำนวยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศเพื่อนบ้าน 10) สถาบันอุดมศึกษาไทยเปิดสอนหลักสูตรภูมิภาค ไทยศึกษาและจัดตั้งศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ศูนย์พม่าศึกษา เวียดนามศึกษา มีการแบ่งงานและร่วมงานกันเพื่อสร้างเอกลักษณ์และศักยภาพในการพัฒนาความชำนาญการเฉพาะทาง มีการเชิญนักวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญจากต่างประเทศมาประจำเป็นระยะ มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 11) สถาบันอุดมศึกษาไทยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศในการจัดตั้งศูนย์ไทยศึกษาหรือศูนย์การสอนภาษาไทยในต่างประเทศมีการแลกเปลี่ยนนักวิชาการและนักศึกษาระหว่างไทยและสถาบันที่ร่วมมือ และมีอาจารย์สอนภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทยมีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม 12) ประเทศไทยศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในภูมิภาค ความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยี ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องการมีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างรีบเร่งด้วยการให้การศึกษาและฝึกอบรม ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันอุดมศึกษาไทยมีศักยภาพสูงในการบริการการศึกษาและฝึกอบรม การคมนาคมสะดวกมีการเปิดถนนและสะพานมิตรภาพเชื่อมทางเหนือกับจีน ทางตะวันตกกับพม่า ทางตะวันออกกับลาว กัมพูชาและเวียดนาม ปัจจัยเหล่านี้เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมและการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม และศูนย์กลางการประชุมสัมมนาในภูมิภาค 13) ไทยเป็นศูนย์ข้อมูลทางด้านการอุดมศึกษาในภูมิภาค ประเทศต่างๆ ทั่วโลกสามารถที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับอุดมศึกษาในภูมิภาคนี้โดยการค้นคว้าจากประเทศไทยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 ถือเป็นแผนหรือแนวทางที่รัฐบาลโดยทบวงมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นเพื่อใช้พัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) เป็นต้นมา โดยที่แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 นี้ ได้กำหนดยุทธ์ศาสตร์หลักที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนานาชาติไว้ 6 ประการ ด้วยกันคือ (สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย, 2540: 8-9) 1) การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและความเป็นเลิศทางวิชาการ (Quality and Excellence) 2) การขยายโอกาสเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา และความเท่าเทียมกันของ โอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Access and Equity) 3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารอุดมศึกษา และระบบการตรวจสอบ (Efficiency and Accountability) 4) ความสอดคล้องของผลผลิตของอุดมศึกษากับความต้องการของสังคมทั้งด้าน ปริมาณและคุณภาพและทันการ (Relevance and Deliver) 5) การพัฒนาความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทยและการเปิดสู่ภูมิภาค (Internationalization and Regionalization) 6) ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการอุดมศึกษาและการใช้การ จัดการแบบเอกชนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (Privatization and Corporatization) อาเซียน ประชาคมเอเชียและแปซิฟิก ประชาคมยุโรปจนถึงยุโรปตะวันออก ซึ่งครอบคลุมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านไทยคดี ศึกษาการจัดหลักสูตรนานาชาติที่ให้โอกาสคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมเข้ามาศึกษา การขยายเครือข่ายความร่วมมือในการผลิตบัณฑิต การวิจัย การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และนักวิชาการ ขณะเดียวกันมีการมุ่งเน้นให้มีการส่งเสริมบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถในการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในเรื่องการส่งคณะผู้แทนไปเจรจาความร่วมมือการให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรม การสนับสนุนบุคคลากรอุดมศึกษาให้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศตลอดจนการสร้างบุคลากรดังกล่าวให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ 2) ให้มีการปรับปรุงสาระและรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีความเป็นมนุษย์มีโลกทัศน์กว้างมีความเข้าใจในมรดก และวัฒนธรรมไทยสามารถวิเคราะห์ด้วยเหตุผลและทักษะใหม่ที่จำเป็นยุคสารสนเทศ และการเพิ่มบทบาทของประเทศในประชาคมโลก จากนโยบายนี้รัฐฯจึงได้กำหนดมาตรการหลักไว้หลายประการ เช่น เน้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรชุดการเรียน หลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไปให้มีลักษณะของการเรียนด้วยตนเอง หรือการเรียนภายใต้คำแนะนำมากขึ้น การเน้นทักษะที่สำคัญด้านภาษาและการสื่อความหมาย การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศและการจัดการ จากข้อเสนอแนะจากการประชุมสัมมนาเรื่อง ความเป็นสากลของการอุดมศึกษาไทยที่จัดขึ้นโดยทบวงมหาวิทยาลัย ในระหว่าง 28-30 มกราคม 2543 ได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากกรณีดังกล่าวไว้หลายประการซึ่งสอดคล้องกับแผนข้างต้นสามารถสรุปได้ดังนี้(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2541: 343) 1.มหาวิทยาลัยไทยควรเป็นผู้นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาความเป็นสากลในไทย 2.การพัฒนาความเป็นสากลของอุดมศึกษาควรเน้นที่การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ยังมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา การปฏิรูปเนื้อหาสาระและรูปแบบหลักสูตร การสนับสนุนทางด้านงบประมาณ เพื่อสร้างโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานในมหาวิทยาลัย และสนับสนุนกิจการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนต่างๆ 3.ในระยะยาวควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาไทย โดยเฉพาะนักศึกษาทางด้านภาษาและสังคมมีโอกาสไปศึกษาระยะสั้นในต่างประเทศและเปิดโอกาสให้นักศึกษาต่างประเทศเข้ามาเรียนในประเทศไทยมากขึ้น 4.ควรมีการพัฒนามาตรฐานทางวิชาการระหว่างประเทศ การพัฒนาหลักสูตรที่มีการเรียนวิชาที่มีความเป็นสากลอย่างสม่ำเสมอ 5.ควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในมหาวิทยาลัย เช่น หน่วยงานประสานงานด้านการศึกษานานาชาติ และระบบข้อมูลด้านการศึกษานานาชาติ 6.ควรทำความเข้าใจในระหว่างบุคคลากรของมหาวิทยาลัยให้เห็นความสำคัญและการยอมรับเป็นสากลของการอุดมศึกษา นโยบายความเป็นนานาชาติในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 8 ในช่วงของการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ที่อาศัยแนวทางการจากแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ของทบวงมหาวิทยาลัยนั้นเป็นช่วงเดียวกับที่มีการระดมความคิดเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ระยะยาวเรื่องความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทย และแนวทางการพัฒนาความเป็นสากลเช่นกัน ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2541: 370) วิสัยทัศน์ ค.ศ. ในปีคริสตศักราช 2020 (พ.ศ. 2563) การอุดมศึกษาไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก จะมีลักษณะดังนี้ 1) จำนวนนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย ทั้งของรัฐและเอกชนทั้งในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอื่นๆ จะมีนักศึกษาทั้งหมดประมาณร้อยละ 40 ของประชากรจำนวนวัยเรียนระดับอุดมศึกษาจำนวนนักศึกษานานาชาติจะมีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทรวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาของสงฆ์ประมาณ 10,000 คนต่อปี 2) นิสิตนักศึกษาไทยมีโลกทัศน์กว้างไกล สามารถเข้าใจและเห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะ ศิลปวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน มีความเคารพในสิทธิเสรีภาพ เอกราชและประชาธิปไตยของประเทศอื่น 3) บัณฑิตที่จบการศึกษาของไทย มีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การพัฒนา ความเข้าใจอันดีงาม ความมั่งคั่ง ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคและโลก 4) บัณฑิตไทยมีสมรรถภาพสากล (global competence) มีความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ ความสามารถในการปรับตัว มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศบัณฑิตสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือภาษาระหว่างประเทศ เช่น อังกฤษ จีน ฝรั่งเศส และภาษาในภูมิภาค เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว เขมร มาเลย์ 5) มหาวิทยาลัยเปิดของไทยมีนักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเข้ามาเรียน มากยิ่งขึ้นมหาวิทยาลัยเปิดเป็นแหล่งให้การศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญแก่เจ้าหน้าที่และแรงงานของไทยในต่างประเทศ 6) คณาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีความสนใจใฝ่รู้และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยเช่น Internet ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และผลการค้นคว้าวิจัยกับนักวิชาการในต่างประเทศ คณาจารย์ไทยเข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการในแขนงวิชาของตนในระดับชาติปีละครั้ง ในระดับภูมิภาค 2 ปีต่อครั้ง และระดับนานาชาติ 3 ปีต่อครั้งเป็นอย่างน้อย 7) คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของไทย มีบทบาทสำคัญในการสร้างผลงานทางวิชาการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งสมาคมเครือข่ายและชุมชนวิชาการและวิชาชีพในภูมิภาค 8) คณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาของไทยมีผลงานทางวิชาการตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารต่างประเทศ คณาจารย์ของไทยได้รับการยกย่องในวงวิชาการระดับนานาชาติ 9) บัณฑิตศึกษาของไทยมีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีขีดความสามารถสูงในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และการผลิตกำลังคนระดับสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศและภูมิภาคบัณฑิตของไทยมีศักยภาพในการเอื้ออำนวยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศเพื่อนบ้าน 10) สถาบันอุดมศึกษาไทยเปิดสอนหลักสูตรภูมิภาค ไทยศึกษาและจัดตั้งศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ศูนย์พม่าศึกษา เวียดนามศึกษา มีการแบ่งงานและร่วมงานกันเพื่อสร้างเอกลักษณ์และศักยภาพในการพัฒนาความชำนาญการเฉพาะทาง มีการเชิญนักวิชาการที่มีความรู้ความชำนาญจากต่างประเทศมาประจำเป็นระยะ มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 11) สถาบันอุดมศึกษาไทยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศในการจัดตั้งศูนย์ไทยศึกษาหรือศูนย์การสอนภาษาไทยในต่างประเทศมีการแลกเปลี่ยนนักวิชาการและนักศึกษาระหว่างไทยและสถาบันที่ร่วมมือ และมีอาจารย์สอนภาษาและศิลปวัฒนธรรมไทยมีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม 12) ประเทศไทยศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมในภูมิภาค ความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยี ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องการมีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างรีบเร่งด้วยการให้การศึกษาและฝึกอบรม ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันอุดมศึกษาไทยมีศักยภาพสูงในการบริการการศึกษาและฝึกอบรม การคมนาคมสะดวกมีการเปิดถนนและสะพานมิตรภาพเชื่อมทางเหนือกับจีน ทางตะวันตกกับพม่า ทางตะวันออกกับลาว กัมพูชาและเวียดนาม ปัจจัยเหล่านี้เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมและการเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม และศูนย์กลางการประชุมสัมมนาในภูมิภาค 13) ไทยเป็นศูนย์ข้อมูลทางด้านการอุดมศึกษาในภูมิภาค ประเทศต่างๆ ทั่วโลกสามารถที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับอุดมศึกษาในภูมิภาคนี้โดยการค้นคว้าจากประเทศไทยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 ถือเป็นแผนหรือแนวทางที่รัฐบาลโดยทบวงมหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นเพื่อใช้พัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบันเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) เป็นต้นมา โดยที่แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 8 นี้ ได้กำหนดยุทธ์ศาสตร์หลักที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนานาชาติไว้ 6 ประการ ด้วยกันคือ (สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย, 2540: 8-9) 1) การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและความเป็นเลิศทางวิชาการ (Quality and Excellence) 2) การขยายโอกาสเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา และความเท่าเทียมกันของ โอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Access and Equity) 3) การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารอุดมศึกษา และระบบการตรวจสอบ (Efficiency and Accountability) 4) ความสอดคล้องของผลผลิตของอุดมศึกษากับความต้องการของสังคมทั้งด้าน ปริมาณและคุณภาพและทันการ (Relevance and Deliver) 5) การพัฒนาความเป็นสากลของอุดมศึกษาไทยและการเปิดสู่ภูมิภาค (Internationalization and Regionalization) 6) ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการอุดมศึกษาและการใช้การ จัดการแบบเอกชนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (Privatization and Corporatization)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น