วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ความเป็นผู้นำของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ

ความเป็นผู้นำของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ ประภาพร บุญปลอด Prapaporn Boonplord E-mail: airthecorr@hotmail.com ศึกษาและเรียบเรียง Jolley (1997) ได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ (key success factor) ของประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษานานาชาติด้านความสามารถในการดึงนักศึกษา ต่างชาติไปศึกษาต่อได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย พบว่ามีปัจจัยความสำเร็จดังนี้ 1. ประเทศดังกล่าวมีมหาวิทยาลัยใจชั้นแนวหน้าระดับโลกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีชื่อเสียงด้านคุณภาพการศึกษา มีหลักสูตรที่มีความหลากหลาย มีระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น 2. มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ดี ทำให้เป็นที่น่าสนใจของคณาจารย์ต่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างชาติ และมีสมาคมศิษย์เก่าที่มีบทบาทสูง 3. ในประเทศดังกล่าวมีชุมชนชาวเอเชียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีเครือข่ายที่ดีและให้การสนับสนุนนักศึกษานานาชาติ 4. มหาวิทยาลัยให้ทุนการศึกษาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งทุนระดับปริญญาโทและเอก 5. โครงการช่วยเหลือด้านการศึกษา เช่น ในช่วงปี ค.ศ.1993-1994 รัฐบาลในเครือจักรภพได้ให้ทุนการศึกษานักศึกษาต่างชาติมากกว่า 8,000 คน ผ่านหน่วยงาน AusAID (Australian Agency for International Development) ของออสเตรเลียเป็นจำนวน 60 ล้านเหรียญออสเตรเลียหรือประมาณ 1,800 ล้านบาท 6. มีการสร้างเครือข่ายในภูมิภาค ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมในเครือจักรภพ 7. ค่าเล่าเรียนที่มีราคาคุ้มค่าในการเรียนหลักสูตรที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในออสเตรเลียและแคนาดา 8. การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางและเป็นที่นิยมทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการธุรกิจ 9. การที่ประสบความสำเร็จในการวางกลยุทธ์การตลาดการศึกษา 10. การตั้งมหาวิทยาลัยสาขาในต่างประเทศ และการมีทรัพยากรพร้อมในการเปิดการศึกษาทางไกล หากวิเคราะห์ประเทศไทยแล้วประเทศไทยสามารถพัฒนาความเป็นผู้นำในการเป็นศูนย์ กลางการศึกษานานาชาติได้ โดยพิจารณาด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การติดอันดับของสถาบันอุดมศึกษา โดยองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างประเทศ เช่น The Times Higher Education Supplement ซึ่งเป็นนิตยสารที่มีชื่อของประเทศอังกฤษ ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.2005 ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 200 อันดับประจำปี ค.ศ.2005 ปรากฏว่าเป็นปีแรกที่มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับดังกล่าว โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ 121 จาก 200 ในการจัดอันดับแยกตามสาขาวิชาย่อย ปรากฏว่าสาขาสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดอันดับ 46 จาก 100 อันดับ สาขาเวชศาสตร์ ติดอันดับที่ 82 และสาขาเทคโนโลยี ติดอันดับ 100 ถ้าพิจารณาเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ 35 ส่วนในภูมิภาคอาเซียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับ 3 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คะแนนสูงในด้านผู้จ้างผู้ประกอบการ ซึ่งใช้บัณฑิตจุฬาฯ และคะแนนในสัดส่วนอาจารย์ต่อนิสิต เพราะมีอาจารย์ 1 คน ต่อนิสิต 11 คน โดยให้คะแนนเท่ากับมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ในสหรัฐอเมริกา แสดงว่าบัณฑิตจุฬาฯ เป็นที่ยอมรับทั่วโลก (สุชาดา กีระนันท์, 2548) นอกจากนี้ นายภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2548) ได้กล่าวว่า การที่จุฬาฯ ติดอันดับ 121 ของโลก เท่ากับมหาวิทยาลัยชื่อดังโลก คือ มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต ในสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยปารีส ในฝรั่งเศส 2. การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ IMD (International Institute for Management Development) แห่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2547 พบว่าความสามารถในการแข่งขันระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 จากทั้งหมด 15 ประเทศ โดยประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 5 และจากการจัดอันดับการศึกษาของ IMD ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 48 สูงกว่าประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (53) ฟิลิปปินส์ (57) และอินโดนีเซีย (60) แต่ต่ำกว่าสิงคโปร์ (14) และมาเลเซีย (24) 3. ค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาการศึกษาไทยในปี พ.ศ.2547 รัฐบาลให้ความสนใจในการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก และได้มีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาค่อนข้างสูงถึง 200,000 ล้านบาททุกปี ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นต้น 3. ด้านจำนวนนักศึกษาต่างชาติและความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ประเทศไทยจัดว่าอยู่ในอันดับ 3 ในภูมิภาค 4. ด้านจำนวนหลักสูตรนานาชาติ และความหลากหลายของหลักสูตร เป็นดัชนีชี้วัดที่ สำคัญของความเป็นสากลของสถาบันของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการ ศึกษา (สมศ.) โดยประเทศไทยในปี พ.ศ.2549 มีหลักสูตรนานาชาติทั้งหมด 720 หลักสูตรในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในด้านต่างๆ อาทิเช่น วิศวกรรมศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ เป็นต้น 5. จากการวิจัยของ ธเนศ จิตสุทธิภากร (2547) พบว่าหนึ่งในองค์ประกอบของโปรแกรมนานาชาติที่สำคัญ ได้แก่ ทรัพยากรสนับสนุน ได้แก่ อาคารสถานที่ ห้องสมุดที่ทันสมัย และระบบสารสนเทศ 6. และจากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2547พบว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษานานา ชาติในภูมิภาคเนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง เช่น จำนวนสถาบันอุดมศึกษา พื้นที่และปัจจัยแวดล้อม 7. ประเทศไทยยังเป็นที่ตั้งของศูนย์/สำนักงานของเครือข่ายความร่วมมือด้านการ ศึกษาระดับภูมิภาคต่างๆ อาทิเช่น สำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) ศูนย์ภูมิภาคของซีมีโอ ว่าด้วยการอุดมศึกษาและการพัฒนา Regional Centre for Higher Education and Development (SEAMEO RIHED) และโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์ในเอเชีย และแปซิฟิก (University Mobility in Asia and the Pacific : UMAP) ในด้านสถานที่ตั้งและสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ ประเทศไทยถือว่าเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาในหมู่ประเทศ เพื่อนบ้าน ดังเหตุผลต่อไปนี้ 1. มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม 2. มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดี 3. การสื่อสารและคมนาคมทันสมัย 4. ค่าครองชีพในไทยก็ค่อนข้างต่ำ ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับการเรียนในแถบยุโรป หรืออเมริกา สามารถจูงใจให้นักศึกษาจากประเทศใกล้เคียงเข้ามาเรียนในไทยได้ง่ายขึ้น 5. หลักสูตรนานาชาติมีหลายระดับ และมีความหลากหลาย ในปี 2547 มีชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาในไทย 19,350 คน แบ่งเป็นนักเรียน 13,700 คน และนักศึกษาระดับอุดมศึกษา 5,601 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวสาธารณรัฐประชาชนจีน รองลงมาเป็นชาวสหภาพพม่า และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสถิติการเข้ามาเพื่อศึกษาต่อของนักศึกษาต่างชาติในไทย ปี พ.ศ.2547 มีอัตราการเติบโตในระดับ 16.78% โดยมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาศึกษาต่อในประเทศไทย 5,601 ราย และสามารถสร้างรายได้รวมมากกว่า 8,000 ล้านบาท 6. ในปี พ.ศ.2549 กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้รับผิดชอบแผนกการตลาดด้านธุรกิจบริหารการศึกษานานา ชาติ ตั้งเป้าว่าในปีถัดไปจะสามารถสร้างรายได้รวม 10,000 ล้านบาท (ประชาชาติธุรกิจ, 2548) แนวโน้มปี 2550 คาดว่า การรับนักเรียน/นักศึกษาต่างชาติจะเพิ่มขึ้น 20% ส่วนใหญ่ยังคงเป็นชาวสาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สหภาพพม่า เป็นต้น เนื่องจากปัจจุบันสหรัฐอเมริกาและอังกฤษหรือประเทศในแถบยุโรปอื่นๆ เป็นเป้าหมายของการก่อความไม่สงบ ผู้ปกครองค่อนข้างห่วงความปลอดภัยของบุตรหลาน ทำให้เด็กนักเรียนในภูมิภาคเอเชียย้ายกลับมาเรียนในไทย หรือในประเทศที่ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวถือเป็นโอกาสที่ดีต่อธุรกิจการศึกษาของไทยมาก ภาครัฐจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ขยายการรุกตลาดการศึกษาให้มากขึ้น (กระทรวงพาณิชย์, 2548) ตลาดประเทศกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น ตลาดหลัก คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย และตลาดใหม่ เป็นตลาดในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศในแถบยุโรปอื่นๆ ที่ต้องการจะเข้ามาเรียนที่ไทยตามโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง มหาวิทยาลัยในไทยและต่างประเทศที่มีข้อตกลงต่อกันรวมทั้งการเรียนหลักสูตร ระยะสั้นด้วย (กรมส่งเสริมการส่งออก, 2548)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น